article : Giles Ji Ungpakorn ใจ อึ๊งภากรณ์
date : September 19 , 2009 - 19 กันยายน 2552
จักรภพ เพ็ญแข จบบทความของเขาเมื่อไม่นานมานี้ด้วยถ้อยคำสำคัญดังต่อไปนี้
“ประชาชน...อำมาตย์... สองเราต้องเท่ากัน”
น่าคิดนะครับ!!
ในความเห็นส่วนตัวของผม
(ซึ่งคุณจักรภพไม่ต้องรับผิดชอบกับบทความนี้เพราะไม่ได้คุยกันมาเจ็ดเดือน)
ประเด็นไม่ใช่ว่าฝ่ายอำมาตย์ “จะยอมหรือไม่” อย่างที่บางคนอาจนึกคิด
แต่ประเด็นที่บทความของคุณจักรภพชวนให้ผมคิด และผมขอชวนให้ท่านคิดต่อ...
คือเรื่องลัทธิ “ความเสมอภาค” เพราะลัทธิหรือปรัชญา “ความเสมอภาค” เป็นอาวุธทาง
ความคิดที่สำคัญที่สุดในการทำลายลัทธิอภิสิทธิ์ชนของอำมาตย์
คิดดูซิ อำมาตย์ทำรัฐประหารเพราะมองว่าพลเมืองส่วนใหญ่ “ต่ำและโง่เกินไป”
“ไม่ควรมีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกรัฐบาล” อำมาตย์เกลียดชังการที่รัฐบาลไทยรักไทยนำ
ภาษีประชาชนมาบริการประชาชน เช่นในระบบสาธารณสุข เพราะอำมาตย์อยากเอาเงิน
ภาษีพลเมืองมาใส่กระเป๋าของตนเอง มาเชิดชูตนเอง หรือซื้อเครื่องบินราคาเป็นล้านให้
ตัวเองนั่ง อำมาตย์เกลียดระบบรัฐสวัสดิการและเคยพูดไว้เป็นหลักฐานด้วย
เขาชอบให้คนจนพอเพียงกับความจน ไม่อยากให้มีการกระจายรายได้
ดังนั้นเราต้องรณรงค์ให้มีรัฐสวัสดิการและการกระจายรายได้
อำมาตย์อยากให้เราใช้ภาษาพิเศษกับเขา ชื่อเขาก็แปลกๆยาวๆ เพื่อไม่ให้ดูเท่าเทียมกับเรา
เวลาเราไปหาอำมาตย์ก็ต้องคลานเหมือนสัตว์ นิยายอำมาตย์อ้างว่า เขาเหนือมนุษย์ธรรมดา
เพราะเก่งทุกอย่าง
เราจึงต้องรณรงค์ให้ทุกคนเท่าเทียมกัน
ลัทธิ ความคิดเสมอภาคจะทำลายข้ออ้างและการสร้างความชอบธรรมของอำมาตย์ทั้งหมด
เพราะลัทธิความเสมอภาคในระบบประชาธิปไตยแท้ ยืนยันว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน
ไม่มีใครต่ำ ไม่มีใครสูง ไม่มีใครมีสิทธิพิเศษ ทุกคนถูกติชมได้ ทุกคนต้องทำงานถ้ามีโอกาส
หรือมีปัญญาพอ ทุกคนต้องเสียภาษี
และที่สำคัญลัทธิเสมอภาคและประชาธิปไตยแท้ เสนอว่าพลเมืองทุกคนมี
วุฒิภาวะที่จะปกครองตนเอง และเลือกผู้แทนของตนเองอย่างเสรี
ดังนั้นการทำรัฐประหาร การขัดขวางประชาธิปไตย และการมีคนถือตำแหน่งสาธารณะโดย
ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอย่างเสรี ย่อมเป็นสิ่งที่ผิด การสืบทอดสายเลือดอาจทำให้เรามีหน้าตา
เหมือนพ่อแม่ปู่ย่าตายายเราได้ แต่มันไม่ใช่สาเหตุที่จะดำรงตำแหน่งพิเศษในสังคม
ถ้าลัทธิเสมอภาคเป็นอาวุธอันแหลมคมที่ใช้ทำลายอำมาตย์ได้ เราควรใช้มันทุกวัน ในทุกเรื่อง
ในทุกโอกาส ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นทุกคนร่วมกันทำได้ ผมขอยกตัวอย่างอื่นๆ นอกจาก
ตัวอย่างที่เสนอไปแล้ว เช่น - เราควรเสนอว่ามนุษย์ทุกคน ไม่ว่าเชื้อชาติอะไร ศาสนาอะไร หรือ
ใช้ภาษาอะไร เป็นคนเหมือนกันและเท่าเทียมกัน หยุดดูถูก ล้อเลียน หรือเอาเปรียบคนพม่า ลาว
เขมร หยุดการมีความคิดอคติกับคนมุสลิมภาคใต้ หยุดคิดว่าการเป็น “ไทย” ยอดเยี่ยมที่สุด และ
หยุดคิดว่า “เราเป็นคนไทยด้วยกัน ต้องสามัคคี” ตามแนว “ชาติ ศาสนา กษัตริย์” ของอำมาตย์
อย่าลืมว่าอำมาตย์มองว่าคนส่วน ใหญ่ในประเทศเป็นพลเมืองชั้นสอง สิ่งเหล่านี้สำคัญ
เพราะทุกครั้งที่ท่านเสนอว่าทุกคนเท่าเทียมกัน คุณกำลังปฏิเสธแนวอำมาตย์ และเอาดาบทาง
ปัญญาฟันความคิดของเขา
เราควรเสนอให้นักโทษในคุกไทยมี สิทธิ์สมกับการเป็นมนุษย์ อย่าดูถูกเขาว่าเป็น “คนเลว”
เพราะเพียงแต่อยู่ในคุก คนติดคุกที่เป็นคนดีมีมากมาย เช่นคุณดา คุณสุวิชา คนจนที่โชคร้าย
อีกหลายแสนคนติดคุก เพราะเขาเป็นเหยื่อสังคม คนเลวแท้ไม่ได้อยู่ในคุกแต่ปกครองประเทศ
คนเสื้อแดงต้องรณรงค์ให้ปล่อยนักโทษส่วนใหญ่ และให้ปฏิรูปคุกซึ่งเป็นนรกของคนจน
เราต้องยกเลิกโทษประหาร คนที่ทำผิดยังมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิต และมีสิทธิ์ที่จะปรับตัว เราต้องเลิก
อคติที่เรามีกับนักโทษ เลิกใช้แรงงานนักโทษเพื่อเอาโคลนออกจากท่อระบายน้ำ
เพราะทุกครั้งที่ท่านเสนอว่าทุกคนเท่าเทียมกัน
คุณกำลังปฏิเสธแนวอำมาตย์ -- และเอาดาบทางปัญญาฟันความคิดของเขา
เรา ควรยืนยันว่ามนุษย์ต้องเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะมีรสนิยมทางเพศอย่างไร
อำมาตย์พยายามสร้างภาพเรื่องครอบครัว และความสำคัญของศีลธรรมอนุรักษ์นิยมเรื่องเพศ
แต่เขาเองก็ประพฤติไม่ได้ คนเสื้อแดงต้องเรียกร้องสิทธิเสรีภาพกับ หญิง ชาย เกย์ กะเทย
ทอม ดี้ ทุกคนควรได้รับความเคารพเท่าเทียมกัน ผู้หญิงไทยควรมีสิทธิที่จะเลือกทำแท้งอย่าง
ปลอดภัยถ้าต้องการ อย่าไปเชื่อจำลอง ศรีเมือง ในเรื่องนี้
แล้วทุกครั้งที่ท่านเสนอว่าทุกคนเท่าเทียมกัน
คุณกำลังปฏิเสธแนวอำมาตย์ -- และเอาดาบทางปัญญาฟันความคิดของเขา
เราควรคัดค้านการใช้อภิสิทธิ์ การปิดถนนเพื่อคนใหญ่คนโต เราต้องร่วมกันด่าร่วมกันวิจารณ์
ทั้งลับหลังและต่อหน้า เราต้องเสนอว่ารถพยาบาลเท่านั้นที่ควรได้อภิสิทธิ์แบบนี้ เราต้องเลิกคิด
ว่าในสังคมเราต้องมี “ผู้ใหญ่ กับผู้น้อย” เราควรเลิกก้มหัวให้ผู้ที่อ้างตัวเป็นผู้ใหญ่ ผู้หญิงควรเลิก
เรียกตัวเองว่า “หนู” เราควรจะสุภาพกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เรียกทุกคนว่า “คุณ” หรือ “ท่าน”
อย่างเสมอภาค
เพราะทุกครั้งที่ท่านเสนอว่าทุกคนเท่าเทียมกัน
คุณกำลังปฏิเสธแนวอำมาตย์ -- และเอาดาบทางปัญญาฟันความคิดของเขา
เราควรรักเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กของใคร ควรรณรงค์ให้เด็กมีความสนุก มีโอกาสเรียนรู้อย่างเสรี
และมีสุขภาพที่ดี เด็กๆควรสุภาพ แต่ไม่ต้องมาเคารพผู้ใหญ่ในรูปแบบที่อำมาตย์เสนอ เพราะมัน
ไร้เหตุผลและสร้างความเหลื่อมล้ำ เด็กก็เป็นคน มีสิทธิ์มีเสียง และสมควรที่จะได้รับความเคารพ
ผู้หญิงสาวๆ หรือชายหนุ่มๆ ที่ทำงานในร้านอาหารหรือที่อื่น ไม่ใช่ “เด็ก” อย่าเรียกเขาอย่างนั้น
เรียกว่า “น้อง” หรือ “พี่” ก็ได้ เราต้องมีความเสมอภาคทางอายุ
เพราะทุกครั้งที่ท่านเสนอว่าทุกคนเท่าเทียมกัน
คุณกำลังปฏิเสธแนวอำมาตย์ -- และเอาดาบทางปัญญาฟันความคิดของเขา
ในสังคมปัจจุบัน การไหว้คนอื่นกลายเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคนชั้นสูง-คนชั้นต่ำ
ผู้น้อยต้องไหว้ผู้ใหญ่ก่อนและต้องก้มหัว ผู้ใหญ่ก็จะรับไหว้ เลิกเถิด!! อาจไม่ต้องไหว้กันเลยก็ได้
โค้งนิดๆ ทั้งสองฝ่าย ยิ้มให้กันตามมารยาท จะเท่าเทียมกว่า
อย่าลืมว่าทุกครั้งที่ท่านเสนอว่าทุกคนเท่าเทียมกัน
คุณกำลังปฏิเสธแนวอำมาตย์ -- และเอาดาบทางปัญญาฟันความคิดของเขา
ในวันหยุดต่างๆ ไม่ต้องปักธงหรือเครื่องประดับของอำมาตย์
ถ้าจะฉลองวันสำคัญเน้นไปที่วันของประชาชน เช่น 24 มิถุนายน หรือ 14 ตุลาคมแทนก็ได้
พวกเราคงคิดถึงตัวอย่างอื่นๆ ได้อีกมากมายได้
และเราทุกคนสามารถร่วมกันสร้างวัฒนธรรมความเท่าเทียม เพื่อค่อยๆ ทำลายความคิดของอำมาตย์
ในสังคมได้ อย่ายอม อย่าก้มหัว เราไม่ใช่ราษฎร เราไม่ใช่ไพร่ เราไม่ได้อยู่ใต้ฝุ่นเท้าใคร
เพราะเราเป็นพลเมืองของสังคมใหม่
ลัทธิ / ปรัชญาความเท่าเทียม
ในความเห็นผม เป็นสิ่งเดียวกับ “สังคมนิยม”
ดังนั้นเราต้องนำความคิดสังคมนิยมมารบกับความคิดอำมาตย์
แต่ไม่ว่าท่านจะเห็นด้วยหรือไม่ตรงนี้ คนเสื้อแดงทุกคนสามารถใช้ลัทธิความเท่าเทียมได้
Sunday, September 20, 2009
Wednesday, September 16, 2009
ปัญหาของแนวทางสันติวิธี
article : Giles Ji Ungpakorn ใจ อึ๊งภากรณ์
date : September 14 , 2009 - 14 กันยายน 2552
เวลาพิจารณาแนวทางการต่อสู้แบบสันติวิธี
เราจะต้องคำนึงถึงประเด็นปัญหา 3 อย่างคือ
1. แนวทางสันติวิธีมีประสิทธิภาพในการสร้างประชาธิปไตย
และเสรีภาพแค่ไหน ? และหลีกเลี่ยงเหตุการนองเลือดได้จริงหรือ ?
2. คนในสังคม นักวิชาการ สื่อกระแสหลัก และคนทั่วไป นิยามสันติวิธีอย่างไรบ้าง ?
3. คนกลุ่มไหนในสังคมเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรงมาตลอดและอย่างเป็นระบบ ?
ประสิทธิภาพของสันติวิธี
มหาตมะ คานธี ขึ้นชื่อว่าเป็นศาสดาแห่งสันติวิธี
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาจริงใจที่จะใช้แนวทางนี้ และเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเขามีบทบาท
ในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียจากอังกฤษ อย่างไรก็ตามแนวทางของ
มหาตมะ คานธี ไม่ได้หลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เพราะในการก่อตั้งประเทศอินเดียและปากีสถานเป็นประเทศอิสระจากอังกฤษ มีการ
ฆ่าฟันกันทั่วทวีประหว่างคนมุสลิมและคนฮินดู มีคนล้มตายหลายหลายแสน และมี
คนที่ต้องอพยพหนีความรุนแรงเป็นล้านๆ
ปัญหาสำคัญของแนวทาง มหาตมะ คานธี
คือเขามักจะคัดค้านการต่อสู้ของมวลชน การนัดหยุดงาน
และการกบฏของทหารต่ออังกฤษ
ดังนั้นเวลามีการต่อสู้ของมวลชน คานธี จะเรียกร้องให้มวลชนสงบนิ่งกลับบ้าน
เพื่อให้ตัวเขาเองเป็นสัญลักษณ์ของการ ต่อสู้ต่อไปด้วยการอดอาหาร --
การต่อสู้ของมวลชนในอินเดียก่อนที่จะได้รับเอกราชจากอังกฤษมักจะเป็นการต่อสู้ของ
คนชั้นล่างที่เรียกร้องความเป็นธรรมในสังคมพร้อมๆ กับเสรีภาพ และที่สำคัญที่สุดมัน
เป็นการต่อสู้ที่จำเป็นต้องสามัคคีคนยากคนจนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือฮินดู
หรือศาสนาอื่น แต่เมื่อมวลชนถูกสลาย นิ่งเฉยอยู่บ้าน ฝ่ายนักการเมือง
ที่อยากจะปลุกระดมความเกลียดชังทางศาสนา ก็จะมีช่องทางเพื่อไปขยายความคิดที่นำ
ไปสู่ความแตกแยกได้ เพราะคนที่นั่งเฉยอยู่บ้านอาจจะยอมเชื่อว่าความเลวร้ายต่างๆใน
ชีวิตเขามาจาก การกระทำของคนที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างจากตัวเอง
แต่คนที่ร่วม สู้กับเพื่อนหลากหลายศาสนาจะไม่มีวันเชื่อการเป่าหูแบบนี้
ความแตกแยกระหว่างคนฮินดูกับคนมุสลิม และการฆ่าฟันกัน เกิดขึ้นเป็นระยะๆจนถึง
ทุกวันนี้ แต่มันไม่ใช่เรื่องธรรมชาติที่คนมุสลิม และคนฮินดูจะเกลียดชังกัน ในประวัติศาสตร์
มีช่วงที่อยู่ด้วยกันอย่างสันติมานาน ความแตกแยกที่เกิดขึ้นมาจากการปลุกระดมของนักการเมือง
แนวศาสนาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
สิ่งที่ค้านแนวความคิดนี้ได้
เป็นแนวคิดที่สามัคคีคนจนเพื่อต่อสู้กับคนชั้นบนที่กดขี่ขูดรีดคนจนเสมอ
แต่ มหาตมะ คานธี มีความใกล้ชิดกับนายทุนใหญ่และชนชั้นสูงในอินเดีย
เขาไม่อยากให้มีการต่อสู้ในเชิงชนชั้น มหาตมะ คานธี ไม่ได้ปลดแอกอินเดียคนเดียว
การปลดแอกอินเดียมาจากการต่อสู้ของคนจำนวนมากทั้งในและนอกพรรคคองเกรส การอ้างว่า
มหาตมะ คานธี สามารถปลดแอกอินเดียได้คนเดียวเป็นการพูดเกินเหตุ และไม่ได้เป็นการ
พิจารณาบริบทการเมืองระหว่างประเทศในยุคนั้นอีกด้วย
ประเทศ ปากีสถานเป็นประเทศที่ก่อตั้งในยุคเดียวกับที่อินเดียได้รับเอกราชคือในปี 1947
ประเทศนี้เป็นผลจากการปลุกระดมของนักการเมืองแนวศาสนา ปากีสถาน จึงประกาศตัวว่าเป็น
“ประเทศมุสลิมบริสุทธิ์” ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามหาศาลกับครอบครัวชาวฮินดูจำนวนมากที่อาศัย
ในพื้นที่ ประเทศใหม่นี้ -- ปากีสถานเองเป็นประเทศที่ตกอยู่ภายใต้เผด็จการทหารมาอย่างต่อเนื่อง
และปัจจุบันอยู่ภายใต้อำนาจจักรวรรดินิยมอเมริกา ประชาชนปากีสถานอาจจะได้รับเอกราช
จากอังกฤษ แต่ไม่เคยได้รับสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
อีกคนหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าต่อสู้แบบสันติวิธีคือ นางอองซาน ซูจี
และเขาได้ใช้วิธีคล้ายๆ มหาตมะ คานธี คือ เมื่อมวลชนออกมาสู้เป็นจำนวนมาก
เช่นในเหตุการณ์ 8-8-88 อองซาน ซูจี จะชักชวนให้ประชาชนกลับบ้านอย่างสงบ เพื่อให้ตัวเขา
คนเดียวเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า และเพื่อให้ประชาชนตั้งความหวัง
กับการเลือกตั้ง และไว้ใจนายพลที่ปกครองประเทศอยู่ ทั้งๆที่นางอองซาน ซูจี เป็นคนที่กล้าหาญ
และจริงใจ แต่การต่อสู้ของเขายังไม่ประสบผลสำเร็จ และยังไม่สามารถทำให้มีการหลีกเลี่ยง
เหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ได้
เราจะเห็นได้ว่าแนวทางสันติวิธีไม่สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดได้
ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และเป็นการต่อสู้ในรูปแบบที่เชิดชู
สัญลักษณ์ของบุคคลคนหนึ่งโดยหันหลังกับ บทบาทมวลชนจำนวนมาก ซึ่งไม่แตกต่าง
จากการหันหลังให้กับบทบาทมวลชน โดยพวกที่เน้นการสร้างกองกำลังติดอาวุธ
นิยามของสันติวิธี
การนิยามว่าอะไรเป็นการต่อสู้แบบ “สันติ” และการต่อสู้แบบ “รุนแรง”
มีการนิยามที่แตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับอคติและจุดยืน ตัวอย่างที่ดีคือ อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
ที่ขึ้นชื่อว่าศึกษาและเลื่อมใสในแนวทางสันติวิธี หลังการทำรัฐประหาร 19 กันยา นักวิชาการคนนี้
ได้ประกาศว่ารัฐประหารดังกล่าวอาจจะเรียกได้ว่า “เป็นสันติวิธี” !!
เหมือนกับว่าการนำรถถังแ ละทหารติดปืนออกมาบนท้องถนนไม่ได้เป็นการข่มขู่ที่จะใช้
ความรุนแรงแต่อย่างใด คำพูดของ ชัยวัฒน์ ในกรณีนี้แสดงให้เห็นว่าบ่อยครั้งนักสันติวิธี
ใช้สองมาตรฐาน และแม้แต่นักสันติวิธีที่ซื่อสัตย์และจริงใจก็มักจะมีเส้นแบ่งว่าจะใช้สันติวิธี
ในกรณีใดและพร้อมจะใช้ความรุนแรงเมื่อไหร่ คนที่นับถือพุทธอาจไม่อยากฆ่าคน แต่อาจ
เห็นด้วยกับโทษประหาร เป็นต้น
ถ้า เราพิจารณาสื่อกระแสหลัก เราจะเห็นว่าพวกนี้มักจะนิยมว่าคนที่เคลื่อนไหวต่อสู้
หรือแค่พูดในแนวที่ตรง ข้ามกับชนชั้นปกครอง จะถูกนิยามว่าเป็นพวก “หัวรุนแรง”
ทั้งๆที่เขาไม่ได้จับอาวุธหรือก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด
ใน กรณี 3 จังหวัดภาคใต้ ที่มีการปะทะกันระหว่างฝ่ายที่กบฏต่อรัฐไทยกับทหาร
สื่อกระแสหลักมักจะมองว่าผู้ใช้ความรุนแรงมีฝ่ายเดียวคือฝ่ายกบฏ ดังนั้น เราจึงต้องพิจารณา
การนิยมสันติวิธีอย่างละเอียด
เราทราบดีว่าพวกเสื้อเหลืองพันธมารฯ ก็มีการโกหกอ้างตัวว่าใช้วิธีแบบสันติ
ทั้งๆที่มีกองกำลัง มีการใช้ระเบิดและมีการทำร้ายร่างกายของฝ่ายตรงข้าม
จำลอง ศรีเมือง ผู้นำคนหนึ่งของพันธมารฯ ที่ประกาศตัวว่าใช้แนวสันติวิธีในการต่อสู้กับ
เผด็จการทหารในเหตุการพฤษภาคม 2535 อาจจะใช้แนวทางสันติในกรณีปี 2535 แต่ใน
ช่วงที่เข้าร่วมกับพันธมารฯ หลายคนคาดว่ามีส่วนในการฝึกกองกำลังของอันธพาลพวกนี้
นอกจากนี้ จำลอง ศรีเมือง เป็นคนที่ก่อความรุนแรงต่อสตรีไทยในทางอ้อม
เพราะคัดค้านสิทธิที่จะเลือกทำแท้งของผู้หญิงไทย ซึ่งบังคับให้สตรีจำนวนมากต้องไปเสี่ยง
ทำแท้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย นี่คืออีกตัวอย่างของสองมาตรฐาน
ใครใช้ความรุนแรงในสังคมอย่างเป็นระบบ ?
คำตอบสั้นๆคือ “ทหาร”
ทหารไม่ได้มีไว้เพื่อไถนา เพื่อเป็นนักสังคมสงเคราะห์
หรือเพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์งดงามในบ้านเมืองของเรา ทหารมีไว้เพื่อฆ่าคน
และการฆ่าคนหรือการขู่ว่าจะฆ่าคนเป็นความรุนแรง หลายคนในสังคมต่างๆ อาจจะมองว่า
การฆ่าคนต่างชาติในสงครามเป็นความรุนแรงที่ยอมรับได้ แต่ทหารไทยมีประวัติศาสตร์อัน
ยาวนานในการฆ่าประชาชนคนไทยเพื่อที่จะปกครอง ประเทศด้วยระบบเผด็จการ
ใน 3 จังหวัดภาคใต้ทหารเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรงมาตั้งแต่การยึดพื้นที่ของอาณาจักรปัตตานี
มาเป็นของกรุงเทพฯ -- ดังนั้นถ้าเราจะคัดค้านการใช้ความรุนแรงในสังคมอย่างจริงจังและ
ปราศจากสอง มาตรฐานเราจำเป็นต้องเริ่มด้วยการเรียกร้องให้ยกเลิกกองทัพ
ซึ่งคงจะมีประโยชน์ในเรื่องประชาธิปไตยอีกด้วย
การใช้ความรุนแรงของ ทหารและอำมาตย์เป็นการใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องผลประโยชน์อัน
ไม่ชอบธรรมของ คนกลุ่มน้อย มันเป็นการปกป้องระบบเผด็จการเพื่อไม่ให้เกิดประชาธิปไตย
ดังนั้นความรุนแรงของทหารมีเป้าหมายอันไม่ชอบธรรมที่ขัดกับประชาธิปไตยและ สิทธิเสรีภาพ
ในกรณีที่มีคนจับอาวุธสู้กับเผด็จการไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ใน 3 จังหวัดภาคใต้ หรือใน
ประเทศต่างๆ ของตะวันออกกลาง ความรุนแรงดังกล่าวเป็นไปเพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
เป้าหมายจึงมีความชอบธรรม แต่มันก็ยังเป็นความรุนแรงอยู่ดี
ใครที่ ชอบวิจารณ์ “ความรุนแรง”
ควรจะวิจารณ์ความรุนแรงของทหารและอำมาตย์เป็นหลัก
ถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็ถือว่าใช้สองมาตรฐาน
และนอกจากนี้ควรจะตั้งคำถามและตอบคำถามว่า
เมื่อคนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธ เขามีทางเลือกอื่นหรือไม่ ?
และเรามีส่วนในการช่วยให้เขามีทางเลือกอื่นหรือไม่ ?
คนที่ถูกกดขี่ ขูดรีดด้วยกำลังทหารที่ใช้ความรุนแรงอย่างเป็นระบบ
ย่อมมี “สิทธิ์” ที่จะจับอาวุธลุกขึ้นสู้และกบฏ แต่แนวทางนั้นจะเป็นแนวทางที่ฉลาด
และนำไปสู่ประชาธิปไตยแท้จริงหรือไม่ -- นั่นคือประเด็นใหญ่
ในความเห็นผมแนวทางจับอาวุธสู้กับอำมาตย์ไม่ใช่แนวทางที่ฉลาดของเสื้อแดง
อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความอื่น
แนวทางปฏิวัติสังคมโดยมวลชน เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการจับอาวุธ
หรือการอ้างแบบลอยๆถึงแนวสันติวิธี
date : September 14 , 2009 - 14 กันยายน 2552
เวลาพิจารณาแนวทางการต่อสู้แบบสันติวิธี
เราจะต้องคำนึงถึงประเด็นปัญหา 3 อย่างคือ
1. แนวทางสันติวิธีมีประสิทธิภาพในการสร้างประชาธิปไตย
และเสรีภาพแค่ไหน ? และหลีกเลี่ยงเหตุการนองเลือดได้จริงหรือ ?
2. คนในสังคม นักวิชาการ สื่อกระแสหลัก และคนทั่วไป นิยามสันติวิธีอย่างไรบ้าง ?
3. คนกลุ่มไหนในสังคมเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรงมาตลอดและอย่างเป็นระบบ ?
ประสิทธิภาพของสันติวิธี
มหาตมะ คานธี ขึ้นชื่อว่าเป็นศาสดาแห่งสันติวิธี
เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเขาจริงใจที่จะใช้แนวทางนี้ และเราปฏิเสธไม่ได้ว่าเขามีบทบาท
ในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดียจากอังกฤษ อย่างไรก็ตามแนวทางของ
มหาตมะ คานธี ไม่ได้หลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เพราะในการก่อตั้งประเทศอินเดียและปากีสถานเป็นประเทศอิสระจากอังกฤษ มีการ
ฆ่าฟันกันทั่วทวีประหว่างคนมุสลิมและคนฮินดู มีคนล้มตายหลายหลายแสน และมี
คนที่ต้องอพยพหนีความรุนแรงเป็นล้านๆ
ปัญหาสำคัญของแนวทาง มหาตมะ คานธี
คือเขามักจะคัดค้านการต่อสู้ของมวลชน การนัดหยุดงาน
และการกบฏของทหารต่ออังกฤษ
ดังนั้นเวลามีการต่อสู้ของมวลชน คานธี จะเรียกร้องให้มวลชนสงบนิ่งกลับบ้าน
เพื่อให้ตัวเขาเองเป็นสัญลักษณ์ของการ ต่อสู้ต่อไปด้วยการอดอาหาร --
การต่อสู้ของมวลชนในอินเดียก่อนที่จะได้รับเอกราชจากอังกฤษมักจะเป็นการต่อสู้ของ
คนชั้นล่างที่เรียกร้องความเป็นธรรมในสังคมพร้อมๆ กับเสรีภาพ และที่สำคัญที่สุดมัน
เป็นการต่อสู้ที่จำเป็นต้องสามัคคีคนยากคนจนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือฮินดู
หรือศาสนาอื่น แต่เมื่อมวลชนถูกสลาย นิ่งเฉยอยู่บ้าน ฝ่ายนักการเมือง
ที่อยากจะปลุกระดมความเกลียดชังทางศาสนา ก็จะมีช่องทางเพื่อไปขยายความคิดที่นำ
ไปสู่ความแตกแยกได้ เพราะคนที่นั่งเฉยอยู่บ้านอาจจะยอมเชื่อว่าความเลวร้ายต่างๆใน
ชีวิตเขามาจาก การกระทำของคนที่มีความเชื่อทางศาสนาต่างจากตัวเอง
แต่คนที่ร่วม สู้กับเพื่อนหลากหลายศาสนาจะไม่มีวันเชื่อการเป่าหูแบบนี้
ความแตกแยกระหว่างคนฮินดูกับคนมุสลิม และการฆ่าฟันกัน เกิดขึ้นเป็นระยะๆจนถึง
ทุกวันนี้ แต่มันไม่ใช่เรื่องธรรมชาติที่คนมุสลิม และคนฮินดูจะเกลียดชังกัน ในประวัติศาสตร์
มีช่วงที่อยู่ด้วยกันอย่างสันติมานาน ความแตกแยกที่เกิดขึ้นมาจากการปลุกระดมของนักการเมือง
แนวศาสนาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง
สิ่งที่ค้านแนวความคิดนี้ได้
เป็นแนวคิดที่สามัคคีคนจนเพื่อต่อสู้กับคนชั้นบนที่กดขี่ขูดรีดคนจนเสมอ
แต่ มหาตมะ คานธี มีความใกล้ชิดกับนายทุนใหญ่และชนชั้นสูงในอินเดีย
เขาไม่อยากให้มีการต่อสู้ในเชิงชนชั้น มหาตมะ คานธี ไม่ได้ปลดแอกอินเดียคนเดียว
การปลดแอกอินเดียมาจากการต่อสู้ของคนจำนวนมากทั้งในและนอกพรรคคองเกรส การอ้างว่า
มหาตมะ คานธี สามารถปลดแอกอินเดียได้คนเดียวเป็นการพูดเกินเหตุ และไม่ได้เป็นการ
พิจารณาบริบทการเมืองระหว่างประเทศในยุคนั้นอีกด้วย
ประเทศ ปากีสถานเป็นประเทศที่ก่อตั้งในยุคเดียวกับที่อินเดียได้รับเอกราชคือในปี 1947
ประเทศนี้เป็นผลจากการปลุกระดมของนักการเมืองแนวศาสนา ปากีสถาน จึงประกาศตัวว่าเป็น
“ประเทศมุสลิมบริสุทธิ์” ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามหาศาลกับครอบครัวชาวฮินดูจำนวนมากที่อาศัย
ในพื้นที่ ประเทศใหม่นี้ -- ปากีสถานเองเป็นประเทศที่ตกอยู่ภายใต้เผด็จการทหารมาอย่างต่อเนื่อง
และปัจจุบันอยู่ภายใต้อำนาจจักรวรรดินิยมอเมริกา ประชาชนปากีสถานอาจจะได้รับเอกราช
จากอังกฤษ แต่ไม่เคยได้รับสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
อีกคนหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่าต่อสู้แบบสันติวิธีคือ นางอองซาน ซูจี
และเขาได้ใช้วิธีคล้ายๆ มหาตมะ คานธี คือ เมื่อมวลชนออกมาสู้เป็นจำนวนมาก
เช่นในเหตุการณ์ 8-8-88 อองซาน ซูจี จะชักชวนให้ประชาชนกลับบ้านอย่างสงบ เพื่อให้ตัวเขา
คนเดียวเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่า และเพื่อให้ประชาชนตั้งความหวัง
กับการเลือกตั้ง และไว้ใจนายพลที่ปกครองประเทศอยู่ ทั้งๆที่นางอองซาน ซูจี เป็นคนที่กล้าหาญ
และจริงใจ แต่การต่อสู้ของเขายังไม่ประสบผลสำเร็จ และยังไม่สามารถทำให้มีการหลีกเลี่ยง
เหตุการณ์นองเลือดที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ได้
เราจะเห็นได้ว่าแนวทางสันติวิธีไม่สามารถหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นองเลือดได้
ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และเป็นการต่อสู้ในรูปแบบที่เชิดชู
สัญลักษณ์ของบุคคลคนหนึ่งโดยหันหลังกับ บทบาทมวลชนจำนวนมาก ซึ่งไม่แตกต่าง
จากการหันหลังให้กับบทบาทมวลชน โดยพวกที่เน้นการสร้างกองกำลังติดอาวุธ
นิยามของสันติวิธี
การนิยามว่าอะไรเป็นการต่อสู้แบบ “สันติ” และการต่อสู้แบบ “รุนแรง”
มีการนิยามที่แตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับอคติและจุดยืน ตัวอย่างที่ดีคือ อ.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
ที่ขึ้นชื่อว่าศึกษาและเลื่อมใสในแนวทางสันติวิธี หลังการทำรัฐประหาร 19 กันยา นักวิชาการคนนี้
ได้ประกาศว่ารัฐประหารดังกล่าวอาจจะเรียกได้ว่า “เป็นสันติวิธี” !!
เหมือนกับว่าการนำรถถังแ ละทหารติดปืนออกมาบนท้องถนนไม่ได้เป็นการข่มขู่ที่จะใช้
ความรุนแรงแต่อย่างใด คำพูดของ ชัยวัฒน์ ในกรณีนี้แสดงให้เห็นว่าบ่อยครั้งนักสันติวิธี
ใช้สองมาตรฐาน และแม้แต่นักสันติวิธีที่ซื่อสัตย์และจริงใจก็มักจะมีเส้นแบ่งว่าจะใช้สันติวิธี
ในกรณีใดและพร้อมจะใช้ความรุนแรงเมื่อไหร่ คนที่นับถือพุทธอาจไม่อยากฆ่าคน แต่อาจ
เห็นด้วยกับโทษประหาร เป็นต้น
ถ้า เราพิจารณาสื่อกระแสหลัก เราจะเห็นว่าพวกนี้มักจะนิยมว่าคนที่เคลื่อนไหวต่อสู้
หรือแค่พูดในแนวที่ตรง ข้ามกับชนชั้นปกครอง จะถูกนิยามว่าเป็นพวก “หัวรุนแรง”
ทั้งๆที่เขาไม่ได้จับอาวุธหรือก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงแต่อย่างใด
ใน กรณี 3 จังหวัดภาคใต้ ที่มีการปะทะกันระหว่างฝ่ายที่กบฏต่อรัฐไทยกับทหาร
สื่อกระแสหลักมักจะมองว่าผู้ใช้ความรุนแรงมีฝ่ายเดียวคือฝ่ายกบฏ ดังนั้น เราจึงต้องพิจารณา
การนิยมสันติวิธีอย่างละเอียด
เราทราบดีว่าพวกเสื้อเหลืองพันธมารฯ ก็มีการโกหกอ้างตัวว่าใช้วิธีแบบสันติ
ทั้งๆที่มีกองกำลัง มีการใช้ระเบิดและมีการทำร้ายร่างกายของฝ่ายตรงข้าม
จำลอง ศรีเมือง ผู้นำคนหนึ่งของพันธมารฯ ที่ประกาศตัวว่าใช้แนวสันติวิธีในการต่อสู้กับ
เผด็จการทหารในเหตุการพฤษภาคม 2535 อาจจะใช้แนวทางสันติในกรณีปี 2535 แต่ใน
ช่วงที่เข้าร่วมกับพันธมารฯ หลายคนคาดว่ามีส่วนในการฝึกกองกำลังของอันธพาลพวกนี้
นอกจากนี้ จำลอง ศรีเมือง เป็นคนที่ก่อความรุนแรงต่อสตรีไทยในทางอ้อม
เพราะคัดค้านสิทธิที่จะเลือกทำแท้งของผู้หญิงไทย ซึ่งบังคับให้สตรีจำนวนมากต้องไปเสี่ยง
ทำแท้งในสถานที่ที่ไม่ปลอดภัย นี่คืออีกตัวอย่างของสองมาตรฐาน
ใครใช้ความรุนแรงในสังคมอย่างเป็นระบบ ?
คำตอบสั้นๆคือ “ทหาร”
ทหารไม่ได้มีไว้เพื่อไถนา เพื่อเป็นนักสังคมสงเคราะห์
หรือเพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์งดงามในบ้านเมืองของเรา ทหารมีไว้เพื่อฆ่าคน
และการฆ่าคนหรือการขู่ว่าจะฆ่าคนเป็นความรุนแรง หลายคนในสังคมต่างๆ อาจจะมองว่า
การฆ่าคนต่างชาติในสงครามเป็นความรุนแรงที่ยอมรับได้ แต่ทหารไทยมีประวัติศาสตร์อัน
ยาวนานในการฆ่าประชาชนคนไทยเพื่อที่จะปกครอง ประเทศด้วยระบบเผด็จการ
ใน 3 จังหวัดภาคใต้ทหารเป็นผู้ที่ใช้ความรุนแรงมาตั้งแต่การยึดพื้นที่ของอาณาจักรปัตตานี
มาเป็นของกรุงเทพฯ -- ดังนั้นถ้าเราจะคัดค้านการใช้ความรุนแรงในสังคมอย่างจริงจังและ
ปราศจากสอง มาตรฐานเราจำเป็นต้องเริ่มด้วยการเรียกร้องให้ยกเลิกกองทัพ
ซึ่งคงจะมีประโยชน์ในเรื่องประชาธิปไตยอีกด้วย
การใช้ความรุนแรงของ ทหารและอำมาตย์เป็นการใช้ความรุนแรงเพื่อปกป้องผลประโยชน์อัน
ไม่ชอบธรรมของ คนกลุ่มน้อย มันเป็นการปกป้องระบบเผด็จการเพื่อไม่ให้เกิดประชาธิปไตย
ดังนั้นความรุนแรงของทหารมีเป้าหมายอันไม่ชอบธรรมที่ขัดกับประชาธิปไตยและ สิทธิเสรีภาพ
ในกรณีที่มีคนจับอาวุธสู้กับเผด็จการไม่ว่าจะเป็นในกรุงเทพฯ ใน 3 จังหวัดภาคใต้ หรือใน
ประเทศต่างๆ ของตะวันออกกลาง ความรุนแรงดังกล่าวเป็นไปเพื่อสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย
เป้าหมายจึงมีความชอบธรรม แต่มันก็ยังเป็นความรุนแรงอยู่ดี
ใครที่ ชอบวิจารณ์ “ความรุนแรง”
ควรจะวิจารณ์ความรุนแรงของทหารและอำมาตย์เป็นหลัก
ถ้าไม่ทำอย่างนั้นก็ถือว่าใช้สองมาตรฐาน
และนอกจากนี้ควรจะตั้งคำถามและตอบคำถามว่า
เมื่อคนที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธ เขามีทางเลือกอื่นหรือไม่ ?
และเรามีส่วนในการช่วยให้เขามีทางเลือกอื่นหรือไม่ ?
คนที่ถูกกดขี่ ขูดรีดด้วยกำลังทหารที่ใช้ความรุนแรงอย่างเป็นระบบ
ย่อมมี “สิทธิ์” ที่จะจับอาวุธลุกขึ้นสู้และกบฏ แต่แนวทางนั้นจะเป็นแนวทางที่ฉลาด
และนำไปสู่ประชาธิปไตยแท้จริงหรือไม่ -- นั่นคือประเด็นใหญ่
ในความเห็นผมแนวทางจับอาวุธสู้กับอำมาตย์ไม่ใช่แนวทางที่ฉลาดของเสื้อแดง
อย่างที่ผมเคยเขียนไว้ในบทความอื่น
แนวทางปฏิวัติสังคมโดยมวลชน เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการจับอาวุธ
หรือการอ้างแบบลอยๆถึงแนวสันติวิธี
สองระบอบ-สองจัดตั้ง
article : จักรภพ เพ็ญแข
from : คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร”
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่ 15
date : September 2009
ตั้งแต่เข้าร่วมกับพี่น้องประชาชนสู้รบกับระบอบอำมาตยาธิปไตยมาจนบัดนี้
ผมเชื่อมั่นเสมอว่าฝ่ายประชาชนในวันนี้ คือฝ่ายก้าวหน้า -- พร้อม ปฏิเสธความล้าหลัง
ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศที่ก่อขึ้นโดยฝ่ายอำมาตย์ ไม่นานก็จะ
บริบูรณ์เพียบพร้อมทั้งทางกายภาพ ความกล้าหาญทางจริยธรรม และจังหวะเวลาอัน
เหมาะสมในการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม
ผมไม่เคยเห็นภาพของพี่น้องประชาชนที่เป็นเด็กไม่พร้อมรับความจริงของโลก ต้องให้
อำมาตย์ บริษัทบริวาร และซากเดนทั้งหลายมาตั้งตัวเป็นผู้ใหญ่เข้าปกครองและครอบงำ
ประชาชนในประเทศนี้ปกครองตัวเองได้
นี่ล่ะครับคือจุดตั้งต้นของผม
ยอมรับว่าเมื่อก่อนนี้ผมก็ไม่แน่ใจนัก เพราะไม่ได้เข้ามาคลุกกับมวลชนจนกลายเป็น
ส่วนหนึ่งของท่านอย่างทุกวันนี้ ผมจึงเพิ่งมาซาบซึ้งกับคำกล่าวที่ว่า “ในมวลชนมีทุกสิ่ง”
และยอมรับว่าเป็นสัจธรรมโดยแท้ เพราะผมได้เรียนจากการร่วมต่อสู้กับพี่น้องประชาชน
มากกว่าทุกโรงเรียนและทุก มหาวิทยาลัยที่ผมได้เรียนและได้สอนมารวมกัน
ผมได้เห็นว่าแม่ค้าจบ ประถม ๔ มีความก้าวหน้า ตระหนักในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ
ตนเองสูงกว่าอธิการบดีจบปริญญาเอกที่ เป็นขี้ข้าของอำมาตย์
ผมได้เห็นคนที่ประกอบอาชีพรับจ้าง อย่างพี่น้องแท็กซี่หรือวินมอเตอร์ไซด์ที่วิเคราะห์
การเมืองได้ดีกว่าคนที่ สังคมอุปโลกน์ให้เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตบางคน
บวกกับบทเรียนและแบบฝึกหัดอีกมากมายหลายครั้ง
ผม พบว่าฝ่ายประชาชนมีจุดอ่อนอย่างเดียวที่ยังสู้ฝ่ายอำมาตย์เขาไม่ได้ และทำให้ฝ่าย
อำมาตย์เขายังควบคุมสังคมได้แทบทุกอณู โดยเฉพาะอำมาตย์ไทยที่ใช้ประโยชน์เต็มที่จาก
วัฒนธรรมสมยอมของไทยและกดขี่ อย่างนุ่มนวล โยนเศษเนื้อให้ฝ่ายประชาชนกินเป็นระยะๆ
เพื่อให้รู้สึกว่าไม่อดตาย จงใจทำลายเงื่อนไขของการปฏิวัติสังคมที่มักเริ่มต้นด้วยความอดอยาก
ยากแค้นใน บ้านเมืองอื่น
นั่นคือการจัดตั้งที่อ่อนกว่า ด้อยกว่า และไม่ต่อเนื่องของฝ่ายประชาชน
ฝ่ายอำมาตย์เขาจัดตั้งมานานกว่า
ครอบคลุมกว่า และยังจัดตั้งอย่างต่อเนื่องแข็งขัน -- เท่านั้นเองครับ
คำว่า การจัดตั้ง ซึ่งเป็นคำเก่าแก่ที่สุดคำหนึ่ง คือการทำความเข้าใจในแนวคิด
อุดมการณ์ ค่านิยม ให้ตรงกันในหมู่คณะ และอาจรวมถึงการทำความตกลงในวิธีการเพื่อ
ให้บรรลุผลนั้น นักจัดตั้งไม่เพียงแต่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง อย่างที่เรียกว่า อัตวิสัย แต่ต้องฉลาด
วิเคราะห์จังหวะเวลาและสถานการณ์ เพื่อโยงเอามาใช้ประโยชน์อย่างที่เรียกว่า ภาววิสัย ด้วย
นี่แหละครับคืองานของเรานับจากนี้ไปในฝ่ายประชาชน
การพิสูจน์คลิปเสียง การไล่รัฐบาล การตะเพิดนายอภิสิทธิ์ การล้อมบ้านพลเอกเปรม ฯลฯ
ก็ทำไปเถิดครับ เพราะเป็นการทดสอบวิธีชุมนุมมวลชนในระบอบประชาธิปไตย เหมือนซ้อมใหญ่
แต่จะให้สะเด็ดน้ำจนเราได้ประชาธิปไตยแท้ๆ ด้วยวิธีการชุมนุมแล้วชุมนุมเล่า แล้วเรียกนายหน้า
หรือตัวแทนเขามาเขกกบาลให้สะใจนั้นเห็นจะเป็นไปได้ยาก
เมื่อฝ่ายอำมาตยาธิปไตยรักษาอำนาจของเขาได้อย่างมั่นคงและลุ่มลึก
ถึงขนาดแทบจะควบคุมความคิดคนได้หมดประเทศแล้วด้วยกลไกการจัดตั้ง
ฝ่ายประชาชนเองจะเพิกเฉยอยู่ไม่ได้
ความจริงใจก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่ หรอกครับ แต่ถ้าต่างคนต่างจริงใจและแสดงออกความจริงใจอย่าง
กระจัดกระจายไม่เป็นลำแสง เดียวกัน ก็จะได้พลังประชาธิปไตยที่กว้างขวาง หลากหลาย
แต่ขาดความเข้มข้นและนำไปทดแทนลำแสงที่ดูเจิดจรัสของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยไม่ ได้
การชุมนุมและคำปราศรัยก็เป็นเครื่องมือจัดตั้งอย่างหนึ่ง แต่ต้องแน่ใจว่าความคิดเบื้องหลัง
การแสดงออกเหล่านั้นมีเป้าหมายเพื่อ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงซ่อนอยู่ หรือบางครั้งก็แสดงออก
เลยโดยไม่ต้องซ่อน ไม่ใช่เพียงเพื่อให้คนชอบคนรัก หรือหาเสียงใส่ตัวเพื่อแปลงเป็นคะแนนเสียง
เลือกตั้งหรือเป็นอำนาจต่อรองทาง การเมืองของตนและหมู่คณะ แต่ต้องเป็นการเตรียมให้มวลชน
เข้าใจเป้าหมายที่ใหญ่โต สำเร็จยาก แต่จำเป็นต้องฝ่าฟันไปเพื่อจัดระเบียบสังคมเสียใหม่
ชุมนุมแต่ละครั้ง อย่าให้แต่ข้อมูลแต่เรื่องปลีกย่อย ต้องฝากความคิดทีละน้อยในเรื่องใหญ่เสมอ
คิดอยู่ในใจว่าการชุมนุมแต่ละครั้งเป็นคือเตรียมมวลชนให้พร้อมต่อความเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง
คิดเชิงคุณภาพ คู่ไปกับความคิดเชิงปริมาณ เพราะจำนวนมวลชนก็มีความจำเป็นต่อชัยชนะอัน
แท้จริงในอนาคต -- ถ้า กำหนดจุดยืนชัดเจนอย่างนี้ การชุมนุมแต่ละครั้ง เว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์
สถานีวิทยุชุมชนแนวประชาธิปไตยแต่ละสถานี การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแต่ละครั้ง ฯลฯ จะมี
ทิศทางชัดเจน ไม่แกว่งไกวตามบุคลิกภาพหรือแนวคิดส่วนตัวของแกนนำหรือวิทยากรแต่ละคน
มวล ชนในขณะนี้ก้าวหน้าแล้ว และพร้อมจะก้าวต่อไปอีก กุญแจสำคัญคือ
การนำขบวนที่ก้าวหน้า ไม่วกวน ไม่ตีฝีปาก และไม่ยอมรับสิ่งที่น้อยกว่าประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ใครขาดความมั่นใจว่าประชาชนจะไปได้ถึง ก็ขอพักยกได้ โดยจะไม่มีใครลืมเลือนท่าน
และคุณประโยชน์ที่ท่านได้ทำมาก่อนหน้านั้นเลย
ความก้าวหน้าและล้าหลังนั้นบังคับกันไม่ได้
แต่จะปล่อยเป็นอุปสรรคต่อขบวนการใหญ่ก็ไม่ได้เช่นกัน นี่คือเรื่องบ้านเมือง ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
ภารกิจที่รออยู่ข้างหน้า และได้เริ่มไปแล้วมากนั้น
จึงคือการจัดตั้งระบอบประชาชนให้ทัดเทียมกับระบอบอำมาตย์
ซึ่ง ไม่ใช่ทั้งการนั่งกราบกำแพงอย่างไร้สติ หรือเอาหัวชนกำแพงจนหัวแตก
แต่ต้องรู้ว่ากำแพงคือกำแพงและหาเครื่องมือที่เหมาะสมต่อกำแพงนั้น
ประชาชน...อำมาตย์... สองเราต้องเท่ากัน
from : คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร”
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่ 15
date : September 2009
ตั้งแต่เข้าร่วมกับพี่น้องประชาชนสู้รบกับระบอบอำมาตยาธิปไตยมาจนบัดนี้
ผมเชื่อมั่นเสมอว่าฝ่ายประชาชนในวันนี้ คือฝ่ายก้าวหน้า -- พร้อม ปฏิเสธความล้าหลัง
ในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศที่ก่อขึ้นโดยฝ่ายอำมาตย์ ไม่นานก็จะ
บริบูรณ์เพียบพร้อมทั้งทางกายภาพ ความกล้าหาญทางจริยธรรม และจังหวะเวลาอัน
เหมาะสมในการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม
ผมไม่เคยเห็นภาพของพี่น้องประชาชนที่เป็นเด็กไม่พร้อมรับความจริงของโลก ต้องให้
อำมาตย์ บริษัทบริวาร และซากเดนทั้งหลายมาตั้งตัวเป็นผู้ใหญ่เข้าปกครองและครอบงำ
ประชาชนในประเทศนี้ปกครองตัวเองได้
นี่ล่ะครับคือจุดตั้งต้นของผม
ยอมรับว่าเมื่อก่อนนี้ผมก็ไม่แน่ใจนัก เพราะไม่ได้เข้ามาคลุกกับมวลชนจนกลายเป็น
ส่วนหนึ่งของท่านอย่างทุกวันนี้ ผมจึงเพิ่งมาซาบซึ้งกับคำกล่าวที่ว่า “ในมวลชนมีทุกสิ่ง”
และยอมรับว่าเป็นสัจธรรมโดยแท้ เพราะผมได้เรียนจากการร่วมต่อสู้กับพี่น้องประชาชน
มากกว่าทุกโรงเรียนและทุก มหาวิทยาลัยที่ผมได้เรียนและได้สอนมารวมกัน
ผมได้เห็นว่าแม่ค้าจบ ประถม ๔ มีความก้าวหน้า ตระหนักในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ
ตนเองสูงกว่าอธิการบดีจบปริญญาเอกที่ เป็นขี้ข้าของอำมาตย์
ผมได้เห็นคนที่ประกอบอาชีพรับจ้าง อย่างพี่น้องแท็กซี่หรือวินมอเตอร์ไซด์ที่วิเคราะห์
การเมืองได้ดีกว่าคนที่ สังคมอุปโลกน์ให้เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิตบางคน
บวกกับบทเรียนและแบบฝึกหัดอีกมากมายหลายครั้ง
ผม พบว่าฝ่ายประชาชนมีจุดอ่อนอย่างเดียวที่ยังสู้ฝ่ายอำมาตย์เขาไม่ได้ และทำให้ฝ่าย
อำมาตย์เขายังควบคุมสังคมได้แทบทุกอณู โดยเฉพาะอำมาตย์ไทยที่ใช้ประโยชน์เต็มที่จาก
วัฒนธรรมสมยอมของไทยและกดขี่ อย่างนุ่มนวล โยนเศษเนื้อให้ฝ่ายประชาชนกินเป็นระยะๆ
เพื่อให้รู้สึกว่าไม่อดตาย จงใจทำลายเงื่อนไขของการปฏิวัติสังคมที่มักเริ่มต้นด้วยความอดอยาก
ยากแค้นใน บ้านเมืองอื่น
นั่นคือการจัดตั้งที่อ่อนกว่า ด้อยกว่า และไม่ต่อเนื่องของฝ่ายประชาชน
ฝ่ายอำมาตย์เขาจัดตั้งมานานกว่า
ครอบคลุมกว่า และยังจัดตั้งอย่างต่อเนื่องแข็งขัน -- เท่านั้นเองครับ
คำว่า การจัดตั้ง ซึ่งเป็นคำเก่าแก่ที่สุดคำหนึ่ง คือการทำความเข้าใจในแนวคิด
อุดมการณ์ ค่านิยม ให้ตรงกันในหมู่คณะ และอาจรวมถึงการทำความตกลงในวิธีการเพื่อ
ให้บรรลุผลนั้น นักจัดตั้งไม่เพียงแต่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง อย่างที่เรียกว่า อัตวิสัย แต่ต้องฉลาด
วิเคราะห์จังหวะเวลาและสถานการณ์ เพื่อโยงเอามาใช้ประโยชน์อย่างที่เรียกว่า ภาววิสัย ด้วย
นี่แหละครับคืองานของเรานับจากนี้ไปในฝ่ายประชาชน
การพิสูจน์คลิปเสียง การไล่รัฐบาล การตะเพิดนายอภิสิทธิ์ การล้อมบ้านพลเอกเปรม ฯลฯ
ก็ทำไปเถิดครับ เพราะเป็นการทดสอบวิธีชุมนุมมวลชนในระบอบประชาธิปไตย เหมือนซ้อมใหญ่
แต่จะให้สะเด็ดน้ำจนเราได้ประชาธิปไตยแท้ๆ ด้วยวิธีการชุมนุมแล้วชุมนุมเล่า แล้วเรียกนายหน้า
หรือตัวแทนเขามาเขกกบาลให้สะใจนั้นเห็นจะเป็นไปได้ยาก
เมื่อฝ่ายอำมาตยาธิปไตยรักษาอำนาจของเขาได้อย่างมั่นคงและลุ่มลึก
ถึงขนาดแทบจะควบคุมความคิดคนได้หมดประเทศแล้วด้วยกลไกการจัดตั้ง
ฝ่ายประชาชนเองจะเพิกเฉยอยู่ไม่ได้
ความจริงใจก็เป็นเรื่องที่ดีอยู่ หรอกครับ แต่ถ้าต่างคนต่างจริงใจและแสดงออกความจริงใจอย่าง
กระจัดกระจายไม่เป็นลำแสง เดียวกัน ก็จะได้พลังประชาธิปไตยที่กว้างขวาง หลากหลาย
แต่ขาดความเข้มข้นและนำไปทดแทนลำแสงที่ดูเจิดจรัสของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยไม่ ได้
การชุมนุมและคำปราศรัยก็เป็นเครื่องมือจัดตั้งอย่างหนึ่ง แต่ต้องแน่ใจว่าความคิดเบื้องหลัง
การแสดงออกเหล่านั้นมีเป้าหมายเพื่อ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริงซ่อนอยู่ หรือบางครั้งก็แสดงออก
เลยโดยไม่ต้องซ่อน ไม่ใช่เพียงเพื่อให้คนชอบคนรัก หรือหาเสียงใส่ตัวเพื่อแปลงเป็นคะแนนเสียง
เลือกตั้งหรือเป็นอำนาจต่อรองทาง การเมืองของตนและหมู่คณะ แต่ต้องเป็นการเตรียมให้มวลชน
เข้าใจเป้าหมายที่ใหญ่โต สำเร็จยาก แต่จำเป็นต้องฝ่าฟันไปเพื่อจัดระเบียบสังคมเสียใหม่
ชุมนุมแต่ละครั้ง อย่าให้แต่ข้อมูลแต่เรื่องปลีกย่อย ต้องฝากความคิดทีละน้อยในเรื่องใหญ่เสมอ
คิดอยู่ในใจว่าการชุมนุมแต่ละครั้งเป็นคือเตรียมมวลชนให้พร้อมต่อความเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง
คิดเชิงคุณภาพ คู่ไปกับความคิดเชิงปริมาณ เพราะจำนวนมวลชนก็มีความจำเป็นต่อชัยชนะอัน
แท้จริงในอนาคต -- ถ้า กำหนดจุดยืนชัดเจนอย่างนี้ การชุมนุมแต่ละครั้ง เว็บไซต์แต่ละเว็บไซต์
สถานีวิทยุชุมชนแนวประชาธิปไตยแต่ละสถานี การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนแต่ละครั้ง ฯลฯ จะมี
ทิศทางชัดเจน ไม่แกว่งไกวตามบุคลิกภาพหรือแนวคิดส่วนตัวของแกนนำหรือวิทยากรแต่ละคน
มวล ชนในขณะนี้ก้าวหน้าแล้ว และพร้อมจะก้าวต่อไปอีก กุญแจสำคัญคือ
การนำขบวนที่ก้าวหน้า ไม่วกวน ไม่ตีฝีปาก และไม่ยอมรับสิ่งที่น้อยกว่าประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ใครขาดความมั่นใจว่าประชาชนจะไปได้ถึง ก็ขอพักยกได้ โดยจะไม่มีใครลืมเลือนท่าน
และคุณประโยชน์ที่ท่านได้ทำมาก่อนหน้านั้นเลย
ความก้าวหน้าและล้าหลังนั้นบังคับกันไม่ได้
แต่จะปล่อยเป็นอุปสรรคต่อขบวนการใหญ่ก็ไม่ได้เช่นกัน นี่คือเรื่องบ้านเมือง ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว
ภารกิจที่รออยู่ข้างหน้า และได้เริ่มไปแล้วมากนั้น
จึงคือการจัดตั้งระบอบประชาชนให้ทัดเทียมกับระบอบอำมาตย์
ซึ่ง ไม่ใช่ทั้งการนั่งกราบกำแพงอย่างไร้สติ หรือเอาหัวชนกำแพงจนหัวแตก
แต่ต้องรู้ว่ากำแพงคือกำแพงและหาเครื่องมือที่เหมาะสมต่อกำแพงนั้น
ประชาชน...อำมาตย์... สองเราต้องเท่ากัน
Friday, September 11, 2009
กองกำลังติดอาวุธไม่ใช่ทางออกของคนเสื้อแดง
article : Giles Ji Ungpakorn ใจ อึ๊งภากรณ์
date : September 12, 2009 - 12 กันยายน 2552
แนวทาง “ปฏิวัติ” ที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยแท้
ไม่ใช่การสร้างกองกำลังติดอาวุธ แต่เป็นการเน้นการจัดตั้งมวลชน
คนเสื้อแดงซึ่งมีจำนวนเป็นล้านๆ เพื่อการร่วมกันพัฒนาความคิดผ่านกลุ่มศึกษา
ทางการเมือง ร่วมกันสู้เพื่อทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงข้าม ผ่านการ
กระจายข่าว และความเห็น ร่วมกันประท้วงอำมาตย์ตามท้องถนนเมื่อโอกาสเหมาะ
ร่วมกันตั้งหน่ออ่อนของรัฐ และโครงสร้างบริหารของฝ่ายเราในชุมชน และตั้ง
องค์กรสงเคราะห์ต่างๆ แข่งกับฝ่ายรัฐอำมาตย์
มันหมายถึงการ ไม่ร่วมมือกับอำมาตย์
มันหมายถึงการนำทหารชั้นผู้น้อยและตำรวจมาเป็นพวก
รวมถึงการเข้าไปในสหภาพแรงงาน และกลุ่มนักศึกษาทั่วประเทศ
มันหมาย ความว่าเราต้องการโค่นระบบปัจจุบันแบบถอนรากถอนโคน
และนำระบบใหม่มาใช้ มันหมายถึงการฝึกฝนการคัดค้านรถถังของฝ่ายทหาร
วิธียึดรถถัง วิธีสร้างทางกั้นทหารตามถนน โดยให้มวลชนออกมาสกัดกั้นพร้อมๆ กับ
การคุยกับทหารธรรมดา
จุดสุดยอดคือ
การลุกฮือทั่วประเทศในอนาคต เมื่อเราพร้อม อย่างที่ผมได้เคยอธิบายไปแล้ว
(อ่านบทความเกี่ยวเนื่อง:ทำไมเราต้องปฏิวัติอำนาจอำมาตย์ )
มีเพื่อนคนหนึ่งวาดภาพว่าเราชาวเสื้อแดงล้านๆ คน
ต้องเป็นฝูงผึ้งที่รุมต่อยอำมาตย์อย่างไม่หยุดยั้ง เขาใช้ปืนและรถถังกับฝูงผึ้งไม่ได้
ข้อเสียของการสร้างกองกำลังติดอาวุธ
อย่างที่เคยทำสมัยพรรคคอมมิวนิสต์มีดังนี้
1. ขบวนการคนเสื้อแดงมีมวลชนหลายล้านคน ซึ่งเป็นประชาชนธรรมดา
เป็นลูกจ้าง เป็นนักศึกษา เป็นแม่บ้าน เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย เป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย
เป็นเกษตรกร ฯลฯ
เรา มีความชอบธรรมเพราะเราเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม ขบวนการคนเสื้อแดงมีลักษณะ
เด่นตรงที่คนตั้งกลุ่มกันเอง นำกันเอง จากรากหญ้า มันคือขบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริง
ถ้าจัดกองกำลังติด อาวุธเมื่อไร ก็เท่ากับสร้างองค์กรลับของคนถืออาวุธไม่กี่คน
(ไม่เกินห้าหมื่นคนอย่างมากที่สุด) เป็นการหันหลังให้มวลชนเป็นล้านๆ เพื่อยกภาระในการ
“ปลดแอกเรา” ให้กับคนหยิบมือเดียว มวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่จับอาวุธแบบนั้นไม่ได้ และจะ
ไม่มีบทบาท หรือมีบทบาทรองจนหมดความสำคัญไป
2. การปิดลับแปลว่าไม่สามารถสร้างเวทีสมัชชาเปิดของคนเสื้อแดงเพื่อร่วมกันถกเถียงแนวทาง
การต่อสู้ แนวทางจะถูกกำหนดโดยแกนนำลับ กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
และไม่ถูกตรวจสอบโดยคนเสื้อแดง เป็นการสั่งจากบนลงล่าง มันเป็นเผด็จการของคนส่วนน้อย
เผด็จการของคนส่วนน้อยสร้างประชาธิปไตยแท้ไม่ได้
3. บทเรียนจากประเทศจีนคือ เมื่อกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มล้อมเมืองต่างๆ
จะไม่มีการปลุกระดมให้พลเมืองลุกขึ้นยึดเมือง แต่จะมีการสั่งให้ทุกคนสงบเงียบอยู่กับที่ และ
รอฟังคำสั่งจากกองทัพแดง นั้นเป็นแนวที่ตรงข้ามกับการปฏิวัติโดยมวลชนจำนวนมาก ที่เคยมี
ในรัสเซีย 1917, อิหร่าน 1979, โปแลนด์ 1980 และในเวเนสเวลาปัจจุบัน
การ ปฏิวัติโดยมวลชนย่อมก่อให้เกิด “สภาคนงาน” และ “สภาชุมชน”
ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการนำของประชาชนเอง -- แต่วิธีที่เน้นกองกำลังติดอาวุธเป็นวิธีทหาร
ที่ไม่มีประชาธิปไตย หรือที่แค่ “เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมบ้าง” แต่พลังและความ
สร้างสรรค์ไม่ได้มาจากรากหญ้าเอง สภาดังกล่าวที่ผมพูดถึงเกิดขึ้นใน รัสเซีย อิหร่าน โปแลนด์
และ เวนเนสเวลา ยังมีกรณี ชิลี 1973 อาเจนทีน่า ตอนประสบวิกฤตเศรษฐกิจ และในโบลิเวียอีกด้วย
4. คนที่เสนอการตั้งกองกำลังติดอาวุธอาจจริงใจ แต่บ่อยครั้งเป็นการพูดเอามัน
เพื่อดูกล้าหาญเด็ดขาด ในที่สุดมันเบี่ยงเบนประเด็นจากภาระอันยิ่งใหญ่ในการจัดตั้งมวลชน
ทางการ เมือง เพื่อปฏิวัติมวลชน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายและจะต้องใช้เวลา
5. กองกำลังติดอาวุธของฝ่ายเรา ไม่มีวันปะทะกับกองกำลังของอำมาตย์อย่างตรงไปตรงมาได้
เขา มีอาวุธครบมือที่เหนือกว่าเราเสมอ อันนี้เป็นบทเรียนจาก ไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
ในกรณีเนปาล สิ่งที่ชี้ขาดในที่สุดคือการลุกฮือในเมือง และพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลไม่ต้องการ
เปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคนอีกด้วย เพราะต้องการเอาใจนายทุนใหญ่ ส่วนแนวทางปฏิวัติ
มวลชนต้องอาศัยพลัง และจำนวนของมวลชนเพื่อให้ทหารชั้นผู้น้อยเปลี่ยนข้าง
6. ถ้าใช้กองกำลังติดอาวุธ เราขยายความคิดทางการเมืองยากขึ้น เพราะเราต้องปิดลับ และ
ที่สำคัญเมื่อเราเดินเข้าไปในชุมชนต่างๆ ชาวบ้านชาวเมืองจะกลัวเราพอๆ กับฝ่ายทหารอำมาตย์
เพราะทั้งสองฝ่ายถือปืน นี่คือบทเรียนจากพรรคคอมมิวนิสต์ไทย และการต่อสู้กับรัฐไทยใน
สามจังหวัดภาคใต้
7. ถ้าคนที่เสนอแนวทางติดอาวุธ ไม่อธิบายว่าเป้าหมายคืออะไรอย่างชัดเจน ไม่อธิบายว่า
ประชาธิปไตยแท้คืออะไร ถ้าเขาชนะ อาจเป็นแค่เปลี่ยนหัวชนชั้นปกครองโดยไม่มีการปฏิวัติก็ได้
8. ในประเทศที่เน้นการสร้างกองกำลังปลดแอก และกองกำลังนั้นชนะ เช่น จีน เวียดนาม ลาว เขมร
ซิมบาบวี คิวบา ผลคือเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้
ขอยืนยันว่าเราต้องเดินแนว “ปฏิวัติมวลชน โค่นอำมาตย์อย่างถอนรากถอนโคน”
date : September 12, 2009 - 12 กันยายน 2552
แนวทาง “ปฏิวัติ” ที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยแท้
ไม่ใช่การสร้างกองกำลังติดอาวุธ แต่เป็นการเน้นการจัดตั้งมวลชน
คนเสื้อแดงซึ่งมีจำนวนเป็นล้านๆ เพื่อการร่วมกันพัฒนาความคิดผ่านกลุ่มศึกษา
ทางการเมือง ร่วมกันสู้เพื่อทำลายความชอบธรรมของฝ่ายตรงข้าม ผ่านการ
กระจายข่าว และความเห็น ร่วมกันประท้วงอำมาตย์ตามท้องถนนเมื่อโอกาสเหมาะ
ร่วมกันตั้งหน่ออ่อนของรัฐ และโครงสร้างบริหารของฝ่ายเราในชุมชน และตั้ง
องค์กรสงเคราะห์ต่างๆ แข่งกับฝ่ายรัฐอำมาตย์
มันหมายถึงการ ไม่ร่วมมือกับอำมาตย์
มันหมายถึงการนำทหารชั้นผู้น้อยและตำรวจมาเป็นพวก
รวมถึงการเข้าไปในสหภาพแรงงาน และกลุ่มนักศึกษาทั่วประเทศ
มันหมาย ความว่าเราต้องการโค่นระบบปัจจุบันแบบถอนรากถอนโคน
และนำระบบใหม่มาใช้ มันหมายถึงการฝึกฝนการคัดค้านรถถังของฝ่ายทหาร
วิธียึดรถถัง วิธีสร้างทางกั้นทหารตามถนน โดยให้มวลชนออกมาสกัดกั้นพร้อมๆ กับ
การคุยกับทหารธรรมดา
จุดสุดยอดคือ
การลุกฮือทั่วประเทศในอนาคต เมื่อเราพร้อม อย่างที่ผมได้เคยอธิบายไปแล้ว
(อ่านบทความเกี่ยวเนื่อง:ทำไมเราต้องปฏิวัติอำนาจอำมาตย์ )
มีเพื่อนคนหนึ่งวาดภาพว่าเราชาวเสื้อแดงล้านๆ คน
ต้องเป็นฝูงผึ้งที่รุมต่อยอำมาตย์อย่างไม่หยุดยั้ง เขาใช้ปืนและรถถังกับฝูงผึ้งไม่ได้
ข้อเสียของการสร้างกองกำลังติดอาวุธ
อย่างที่เคยทำสมัยพรรคคอมมิวนิสต์มีดังนี้
1. ขบวนการคนเสื้อแดงมีมวลชนหลายล้านคน ซึ่งเป็นประชาชนธรรมดา
เป็นลูกจ้าง เป็นนักศึกษา เป็นแม่บ้าน เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย เป็นพ่อค้าแม่ค้ารายย่อย
เป็นเกษตรกร ฯลฯ
เรา มีความชอบธรรมเพราะเราเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม ขบวนการคนเสื้อแดงมีลักษณะ
เด่นตรงที่คนตั้งกลุ่มกันเอง นำกันเอง จากรากหญ้า มันคือขบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริง
ถ้าจัดกองกำลังติด อาวุธเมื่อไร ก็เท่ากับสร้างองค์กรลับของคนถืออาวุธไม่กี่คน
(ไม่เกินห้าหมื่นคนอย่างมากที่สุด) เป็นการหันหลังให้มวลชนเป็นล้านๆ เพื่อยกภาระในการ
“ปลดแอกเรา” ให้กับคนหยิบมือเดียว มวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่จับอาวุธแบบนั้นไม่ได้ และจะ
ไม่มีบทบาท หรือมีบทบาทรองจนหมดความสำคัญไป
2. การปิดลับแปลว่าไม่สามารถสร้างเวทีสมัชชาเปิดของคนเสื้อแดงเพื่อร่วมกันถกเถียงแนวทาง
การต่อสู้ แนวทางจะถูกกำหนดโดยแกนนำลับ กลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
และไม่ถูกตรวจสอบโดยคนเสื้อแดง เป็นการสั่งจากบนลงล่าง มันเป็นเผด็จการของคนส่วนน้อย
เผด็จการของคนส่วนน้อยสร้างประชาธิปไตยแท้ไม่ได้
3. บทเรียนจากประเทศจีนคือ เมื่อกองทัพพรรคคอมมิวนิสต์เริ่มล้อมเมืองต่างๆ
จะไม่มีการปลุกระดมให้พลเมืองลุกขึ้นยึดเมือง แต่จะมีการสั่งให้ทุกคนสงบเงียบอยู่กับที่ และ
รอฟังคำสั่งจากกองทัพแดง นั้นเป็นแนวที่ตรงข้ามกับการปฏิวัติโดยมวลชนจำนวนมาก ที่เคยมี
ในรัสเซีย 1917, อิหร่าน 1979, โปแลนด์ 1980 และในเวเนสเวลาปัจจุบัน
การ ปฏิวัติโดยมวลชนย่อมก่อให้เกิด “สภาคนงาน” และ “สภาชุมชน”
ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการนำของประชาชนเอง -- แต่วิธีที่เน้นกองกำลังติดอาวุธเป็นวิธีทหาร
ที่ไม่มีประชาธิปไตย หรือที่แค่ “เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมบ้าง” แต่พลังและความ
สร้างสรรค์ไม่ได้มาจากรากหญ้าเอง สภาดังกล่าวที่ผมพูดถึงเกิดขึ้นใน รัสเซีย อิหร่าน โปแลนด์
และ เวนเนสเวลา ยังมีกรณี ชิลี 1973 อาเจนทีน่า ตอนประสบวิกฤตเศรษฐกิจ และในโบลิเวียอีกด้วย
4. คนที่เสนอการตั้งกองกำลังติดอาวุธอาจจริงใจ แต่บ่อยครั้งเป็นการพูดเอามัน
เพื่อดูกล้าหาญเด็ดขาด ในที่สุดมันเบี่ยงเบนประเด็นจากภาระอันยิ่งใหญ่ในการจัดตั้งมวลชน
ทางการ เมือง เพื่อปฏิวัติมวลชน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายและจะต้องใช้เวลา
5. กองกำลังติดอาวุธของฝ่ายเรา ไม่มีวันปะทะกับกองกำลังของอำมาตย์อย่างตรงไปตรงมาได้
เขา มีอาวุธครบมือที่เหนือกว่าเราเสมอ อันนี้เป็นบทเรียนจาก ไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
ในกรณีเนปาล สิ่งที่ชี้ขาดในที่สุดคือการลุกฮือในเมือง และพรรคคอมมิวนิสต์เนปาลไม่ต้องการ
เปลี่ยนสังคมอย่างถอนรากถอนโคนอีกด้วย เพราะต้องการเอาใจนายทุนใหญ่ ส่วนแนวทางปฏิวัติ
มวลชนต้องอาศัยพลัง และจำนวนของมวลชนเพื่อให้ทหารชั้นผู้น้อยเปลี่ยนข้าง
6. ถ้าใช้กองกำลังติดอาวุธ เราขยายความคิดทางการเมืองยากขึ้น เพราะเราต้องปิดลับ และ
ที่สำคัญเมื่อเราเดินเข้าไปในชุมชนต่างๆ ชาวบ้านชาวเมืองจะกลัวเราพอๆ กับฝ่ายทหารอำมาตย์
เพราะทั้งสองฝ่ายถือปืน นี่คือบทเรียนจากพรรคคอมมิวนิสต์ไทย และการต่อสู้กับรัฐไทยใน
สามจังหวัดภาคใต้
7. ถ้าคนที่เสนอแนวทางติดอาวุธ ไม่อธิบายว่าเป้าหมายคืออะไรอย่างชัดเจน ไม่อธิบายว่า
ประชาธิปไตยแท้คืออะไร ถ้าเขาชนะ อาจเป็นแค่เปลี่ยนหัวชนชั้นปกครองโดยไม่มีการปฏิวัติก็ได้
8. ในประเทศที่เน้นการสร้างกองกำลังปลดแอก และกองกำลังนั้นชนะ เช่น จีน เวียดนาม ลาว เขมร
ซิมบาบวี คิวบา ผลคือเผด็จการของพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้
ขอยืนยันว่าเราต้องเดินแนว “ปฏิวัติมวลชน โค่นอำมาตย์อย่างถอนรากถอนโคน”
Friday, September 4, 2009
จุดยืนและก้าวย่าง
article : Jakrapob Penkair จักรภพ เพ็ญแข
from : คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร”
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่ 13
date : September 2009
จุดยืนและก้าวย่าง
เสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายในหมู่คนเสื้อแดงขณะนี้ เป็นคุณ
และมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการก้าวเดินของฝ่ายประชาธิปไตย
ในระยะที่มีอารมณ์ความรู้สึกมาก ก็ควรปล่อยให้ระบายบ้าง
หลังจากนั้นคือเวลาใคร่ครวญอย่างรอบคอบ ประเมินสถานการณ์ตามความเป็นจริง
กำหนดจุดยืนและย่างก้าวของทั้งขบวนการต่อไป -- ไม่มีอะไรน่าห่วงกังวลเลยครับ
ระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริง ซึ่งเป็นธงของพวกเรา จะมีการวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียง
อย่างนี้อีกมากมายนัก ใครที่ไม่คุ้นเคยควรทำความคุ้นเคยไว้เสีย ระบอบการปกครองของ
ไทยที่จะทำให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ไม่ใช่กระซิบกันอย่างไพร่ๆ ว่าให้เงียบเสียง
สังคมจะได้สงบสุขมั่นคง แต่จะระดมเอาความคิดเห็นที่หลากหลายมาสู่เวทีถกเถียงที่ชอบธรรม
ซึ่งแปลว่าประชาชนต้องมีส่วนร่วมก่อสร้างหรือส่งตัวแทนมาร่วมในเวทีนั้น และเมื่อ
ถกเถียงได้ที่แล้วก็ต้องรู้จักหยุดเป็นห้วงๆ เพื่อลงมือปฏิบัติ
เราอยากได้รัฐสภาเช่นนั้นในอนาคต
รัฐสภาที่เป็นตัวแทนของของอำนาจอธิปไตยในมือคนส่วนใหญ่ของประเทศ มีความยืดหยุ่น
มากน้อยขึ้นลงได้ตามประชามติ เป็นคณะกรรมการกำหนดนโยบายของประเทศที่ประคับประคอง
ระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สามารถหาจุดสมดุลระหว่างความเป็นชาติกับความเป็น
นานาชาติได้ แสวงหาผู้บริหารที่ดีที่สุดมาทำหน้าที่เดินงานบ้านเมือง และมีขีดความสามารถสูง
พอในการป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกทำลายโดยการรัฐประหารโดยตรงหรือการรัฐประหารโดยอ้อม
เช่น องค์กรอิสระ อำนาจตุลาการ นักวิชาการสายอำมาตย์ เป็นต้น
ถ้าเราปรารถนาเช่นนั้น เราต้องทำขบวนการเสื้อแดงให้สะท้อนภาพนั้นเสียตั้งแต่บัดนี้
มีผู้หวังดีถามกันมากว่า
จักรภพเป็นอะไร ทำไมถึงเกิดขัดแย้งกันเอง บางท่านหวังดีแต่มีอารมณ์ก็เลยไปถึงเรื่อง
ผลประโยชน์ขัดกันหรือความอิจฉาริษยาแกนนำไปโน่น
คำตอบทั้งหมดอยู่ในช่วงต้นของบทความนี้ครับ -- ไม่น้อยกว่านี้ ไม่มากกว่านี้
แต่รัฐสภาอันแท้จริงที่ไม่ใช่หุ่นกระบอกของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ก็เป็นเพียงรูปธรรมอย่างหนึ่ง
คำตอบที่ละเอียดขึ้นคือเป้าหมายที่แน่ชัดว่ารัฐสภาต้องเอื้ออำนวยให้เกิดผลต่างๆ เหล่านี้ครบถ้วน
๑. อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจการเมืองสูงสุดที่ไม่มีอะไรสูงกว่า เป็นของปวงชนชาวไทย
๒. บ้านเมืองปกครองด้วยหลักกฎหมาย และด้วยตัวบทกฎหมายที่ปวงชนชาวไทยร่วมกำหนด
ไม่ใช่ด้วยกระบวนการฝ่ายอำมาตย์ที่แอบควบคุมสังคมไทยอยู่โดยอ้างคำว่ากฎหมาย
๓. ประชาชนต้องมีเสรีภาพ
๔. สังคมต้องมุ่งความเสมอภาค
๕. รัฐบาลและผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนปวงชนชาวไทยในเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ เข้ามาได้
ก็ต้องออกไปได้ ต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นวิถีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ยังไม่มีอะไรดีกว่า
สังคมเสื้อแดงและฝ่ายประชาธิปไตยควรหยุดถกเถียงและใคร่ครวญเป็นระยะๆ ว่า
ทิศทางของเรานำไปสู่เป้าหมายใหญ่ทั้ง ๕ ข้อนี้หรือไม่
ทั้งหมดนี้คือความละเอียดอ่อน
ขณะพูดต้องพูดตรง ไม่กำกวม ไม่ห่วงภาพลักษณ์ชื่อเสียงที่เป็นสิ่งไร้สาระ
แต่ในขณะลงมือทำต้องมีศิลปะประคองตัว เพราะเราไม่ได้หาเสียงเลือกตั้ง
เพื่อเป็นรัฐบาลให้เขาเชือดทิ้งเหมือนรัฐบาลภายใต้นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
สมัคร สุนทรเวช และสมชาย วงศ์สวัสดิ์
แต่เราต้องการตัวแทนประชาชนที่มีขีดความสามารถในการปกป้องตัวเองได้
ชนะเลือกตั้งอย่างงดงาม แล้วแพ้ในศึกชิงอำนาจรัฐ
ได้ชื่อว่าเป็นรัฐบาลของราชอาณาจักรไทย
แต่ไม่ได้อำนาจรัฐในการบริหารงานในราชอาณาจักรนั้น
ถือว่าเปล่าประโยชน์
เราจึงตั้งคำถามว่า การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งของฝ่ายประชาธิปไตย
ซึ่งมวลชนเข้าร่วมอย่างน่าปลื้มใจทุกครั้ง เรามีข้อเรียกร้องที่ใหญ่พอและคุ้มค่าต่อความ
เหนื่อยกายและเหนื่อยใจของประชาชนหรือไม่
เราเข้าใกล้เป้าหมายทั้ง ๕ ข้อนั้นมากขึ้นหรือไม่
ถ้าไม่ แสดงว่ายุทธวิธีของเราอาจไม่ได้เป็นไปตามยุทธศาสตร์
หลายท่านบอกผมว่าเราต้องแกล้งทำ ต้องลับลวงพราง และต้องใจเย็น
ในใจของแต่ละท่านก็คือรอให้ธรรมชาติช่วยตัดสิน แล้วทุกอย่างจะพลิกผัน
มาเข้าทางเราโดยอัตโนมัติ -- ผมต้องขอประทานโทษ - ผมไม่เชื่อ
สังคมไทยวันนี้ไม่ได้คลุมด้วยตาข่ายทางสังคมที่ประชาชนเป็นผู้ใหญ่และมีส่วนร่วม
ในการตัดสินชะตากรรมของตัวเอง แต่เป็นการครอบงำของสิ่งที่เรียกว่า “รัฐภายในรัฐ”
นั่นคือมีรัฐบาลตัวจริงที่คอยชี้นำทิศทางของประเทศอยู่ และชี้นำทุกอย่างไปสู่การรักษา
อำนาจอันล้นเหลือและความมั่งคั่งร่ำรวยที่อธิบายที่มาไม่ได้ของตัวเองและพวกเท่านั้น
รัฐบาลที่ว่านี้ไม่เคยมาจากการเลือกตั้ง ไม่สนใจที่จะมาจากการเลือกตั้ง
แต่เป็นรัฐบาลที่คอยล้มการเลือกตั้งของฝ่ายประชาธิปไตยและทำให้แน่ใจอยู่ตลอดเวลา
ว่าประชาชนจะไม่ได้เป็นใหญ่ และเป็นรัฐบาลที่เต็มไปด้วยความคั่งแค้นต่อการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ จนต้องทำทุกอย่างเพื่อหมุนเข็มนาฬิกาของประเทศกลับไปก่อนหน้านั้นให้จงได้
รัฐบาลนี้เขามีพวกมาก แผ่ซ่านไปในทุกวงการ
ถ้าเป็นมะเร็งก็ระยะสุดท้าย ต้องหาทางเกิดใหม่อย่างเดียว
ภารกิจหลักของรัฐบาลนี้คือการทำลายโครงสร้างของระบอบประชาธิปไตย
ถ้าเราขอความร่วมมือกับรัฐบาลที่ว่านี้ในการคืนประชาธิปไตยให้กับเรา
ถ้าเขาไม่ใจร้อนฆ่าเราเสียเลย เขาก็อาจแสร้งว่าเห็นใจและโยนเศษเนื้อข้างเขียงมาให้ อาจจะ
เปลี่ยนนายกรัฐมนตรีให้สักคน เพราะเรารุมกันประณามนายกรัฐมนตรีคนที่เขาเลือก อาจ
เปลี่ยนข้อความบางข้อในรัฐธรรมนูญให้เรารู้สึกหายใจโล่งขึ้น แต่ไม่ยอมแตะต้องส่วนสำคัญ
ที่ทำให้เราอยู่ในสภาพน้ำใต้ศอกอยู่อย่างนี้ตั้งแต่ต้น
แล้วเราก็จะไม่ได้แม้แต่ข้อแรก คืออำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทย
ไม่ต้องหวังว่าจะได้รัฐบาลจากการเลือกตั้งที่มีอำนาจรัฐจริง มาอำนวยเสรีภาพและความเสมอภาค
ทางสังคมให้กับประชาชน และไม่ต้องหวังว่ากระบวนทางกฎหมายจะเป็นไปเพื่อฝ่ายประชาชน
เพราะถ้าไม่ได้ข้อแรก เราก็จะเสียหมดทุกข้อ
เป้าหมายทั้งห้าข้อไม่ใช่ความรู้ใหม่ หมอเหล็ง ศรีจันทร์และคณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง ร.ศ. ๑๓๐
และปัญญาชนสยามสมัยนั้นท่านก็รู้อย่างนี้ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์และคณะราษฎร พ.ศ.๒๔๗๕ ท่าน
ก็เสี่ยงชีวิตเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านี้
จนถึง ดร.ทักษิณ ชินวัตร ตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นมา ก็เพราะมั่นใจอย่างนี้
ความใหม่ในวันนี้คือ ประชาชนท่านต้องการสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาจริงๆ แล้ว
หมดสมัยของปัญญาชนคิดพิมพ์เขียวมานำเสนอให้ประชาชนเฮตามทั้งที่ไม่รู้ความหมายแล้ว
ครับ วันนี้ปัญญาชนของฝ่ายประชาธิปไตยคือตัวประชาชนเอง
โดยมีอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสื่อสารสมัยใหม่เป็นเลขานุการให้
กว่าสามปีที่ต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตยมา ประชาชนก้าวหน้า
แต่ปัญญาชนอุปถัมภ์ของอำมาตย์กลับถอยหลังลงคลอง
จนล้าหลังเป็นอย่างยิ่ง แล้วยังจะมาเรียกร้องขอเล่นบทบาทนำทางสังคมอีกล่ะหรือ
ที่สุดแล้วคืออะไร ?
จุดยืนของฝ่ายประชาธิปไตยคือสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตยที่ไม่ได้มีแต่คุณเปรมคนเดียว
สู้โดยสติปัญญาความสามารถ โดยไม่ใช่เอาเลือดเข้าแลก
ก้าวย่างคือเตรียมแผ่นดินให้พร้อม
เครือข่ายของอำมาตย์เขาก็เตรียมอยู่ต่อหลังฤดูผลัดใบเช่นกัน เพราะเขาคิดว่าเขาเป็น
เจ้าของสวนพฤกษชาติแห่งนี้ เตรียมเครื่องมืออย่างหลากหลายเพื่อกระทำภารกิจที่
แตกต่างกันในแต่ละห้วงแต่ละสถานการณ์ และจุดสำคัญคือเมื่อถึงเวลาเดินก็ต้องเดิน
ไม่ชวนวนอยู่กับที่เหมือนวัวพันหลัก
ขอเรียนเสนอไว้ให้ฝ่ายประชาธิปไตยถกเถียงต่อไปด้วยใจเคารพ.
Thursday, September 3, 2009
บทความ : ใจ อึ๊งภากรณ์
article : Giles Ji Ungpakorn - ใจ อึ๊งภากรณ์
date : September 3, 2009 - 3 กันยายน 2552
“ความขัดแย้ง” ในแกนนำเสื้อแดง
คือโอกาสในการร่วมกันคิดหาทางออกให้ชัดว่าจะสู้อย่างไร
ผมเข้าใจความรู้สึกของคนเสื้อแดง
ที่ไม่สบายใจ เมื่อเห็นแกนนำเสื้อแดงเถียงและวิจารณ์กัน
แต่ความรู้สึกนั้นผิดพลาด
การที่แกนนำเสื้อแดงเถียงกันตอนนี้ มีรากฐานมาจากแนวความคิด
ทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว หรือความไร้น้ำยาของใคร
มันสะท้อนวิกฤตในสังคมไทยที่เราต้องร่วม กันแก้ และมันสะท้อนความ
ยากลำบากในการแก้ ผมอยากชักชวนให้เราชาวเสื้อแดงมองว่าการถกเถียง
เรื่องแนวทางการต่อสู้เป็น เรื่องดี ไม่ใช่ข้อเสียแต่อย่างใด เพราะมันบังคับ
ให้พวกเราคิดตามประเด็นถกเถียง
ผมอยากให้เสื้อแดง ทุกคนมีส่วนร่วมในการถกเถียงนี้ ขบวนการเสื้อแดง
เป็นขบวนการประชาธิปไตยของมวลชนชั้นล่างที่ถูกกดขี่มานาน ขบวนการ
ประชาธิปไตยในทุกยุคทุกสมัยทุกประเทศ ย่อมเต็มไปด้วยการถกเถียง
และนี่คือจุดแข็งจุดเด่น
เราไม่เหมือนเสื้อเหลืองที่ขัดแย้งกัน เรื่องการกอบโกย หรือเรื่องอำนาจที่จะกอบโกย
ไม่ว่าจะเป็นทหารชั้นผู้ใหญ่ คนในแวดวงเบื้องสูง อภิสิทธิ์ เนวิน สุเทพ หรือ
ผู้นำพันธมิตรฯ พวกนี้เป็นเหลืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์พิเศษของเขาแต่แรก
เขาเลยทะเลาะกันเรื่องผลประโยชน์เสมอ
เสื้อแดงไม่ใช่เทวดา แต่ประเด็นผลประโยชน์ส่วนตัวไม่ใช่ประเด็นหลักในขณะนี้
คนเสื้อแดงเข้าใจดีว่าปัจจุบันอำมาตย์ครองเมือง
ผมอยากให้มองว่า อำมาตย์ดังกล่าวไม่ใช่บุคคลหยิบมือเดียว
ไม่ใช่สถาบันเดียว แต่เป็นพวกทหารชั้นสูง ข้าราชการชั้นสูง องคมนตรีและขุนนาง
รวมถึงเศรษฐีนักการเมืองเหลือง
อำนาจของพวกนี้ทั้งกลุ่มฝังลึกอยู่ ศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ทหาร เพราะมีเครื่องมือ
ในการใช้ความรุนแรงเพื่อเผด็จการ แต่พวกนี้ใช้สถาบันเบื้องสูงเพื่อพยายามสร้าง
ความชอบธรรมด้วย
อำมาตย์ ในทุกที่ทั่วโลกต้องมีอาวุธสองชนิดคือปืนกับการสร้างความชอบธรรม
เขาจะคุมทหาร ตำรวจ ศาล คุก และเขาจะคุมสื่อ โรงเรียน และปิดกั้นความคิด
ขบวนการเสื้อแดงเติบโตจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ของคนจำนวนมาก
หลัง 19 กันยา ในช่วงแรกๆ เราไม่ต้องคิดอะไรหนักเพราะเรามองว่าเรามีมวลชน
และมีความชอบธรรม
แต่ หลังเมษาเลือดเราเริ่มเห็นชัดว่าเราเผชิญหน้ากับอำนาจที่แข็งแกร่ง
แค่เดินขบวนและชุมนุมไม่พอ พันธมิตรฯมันเดินขบวนและมีผลเพราะมันใช้ความรุนแรง
และมีทหารและคนชั้นสูง หนุนหลัง มันไม่ได้ชนกับอำนาจอำมาตย์
เราเรียนรู้ว่าแค่ชนะการ เลือกตั้งหลายรอบก็ไม่พออีกด้วย นี่คือที่มาของการถกเถียง
ในหมู่แกนนำเสื้อแดงปัจจุบัน และผมมั่นใจว่าในหมู่คนเสื้อแดงรากหญ้ามีการเถียงกัน
ในทำนองเดียวกัน การถกเถียงนี้จะช่วยให้เราชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางต่อสู้ และ
ถ้าเราวิเคราะห์ออก เราจะชัดเจนว่าเราสามารถสามัคคีกันตรงไหนได้ และมองต่างมุมใน
ส่วนไหน โดยไม่ทำให้ขบวนการประชาธิปไตยอ่อนแอ
ถ้าจะสรุปเหมารวม การถกเถียงครั้งนี้เป็นการถกเถียงระหว่างสองฝ่าย
ในแต่ละฝ่ายก็ไม่ใช่ว่าคนจะคิดเหมือนกันหมด แต่เราสามารถจัดเป็นสองกลุ่มได้คือ
(1) กลุ่มแกนนำสามเกลอและทักษิณ เป็นกลุ่มที่อยากจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป พร้อมจะ
หาทางประนีประนอมเพื่อได้ประชาธิปไตยกลับมา โดยไม่ต้องปะทะมากเกินไป แนวนี้
คือแนวปฏิรูป
ส่วนกลุ่มที่
(2) ประกอบไปด้วยจักรภพและสุรชัย ที่มองว่าประชาธิปไตยแท้จะไม่มีวันเกิดขึ้นถ้าไม่สู้
แบบปะทะอย่างตรงไปตรงมา นี่คือแนวปฏิวัติ
ผมเองก็สนับสนุนแนวคิดกว้างๆ ของกลุ่มที่สองนี้ด้วย
ผมไม่อยากจะเอาคำพูดไปยัดปากใคร หรือความคิดไปยัดใส่หัวใคร ทุกท่านต้องอ่านและฟัง
สิ่งที่เจ้าตัวพูดเอง ไม่ใช่ไปสรุปแทนหรือบิดเบือนอย่างที่มีคนทำกับผมบ่อยๆ
แต่ถ้าจะ สรุปคร่าวๆ สองแนวนี้คือทางเลือกระหว่างการค่อยๆปฏิรูปและประนีประนอม กับ
การปฏิวัติเพื่อสร้างสังคมใหม่ ในขณะนี้ทั้งสองฝ่ายเชื่อว่าแนวทางของตนเองเป็นแนวที่ดีที่สุด
ที่จะนำสังคม ไปสู่ประชาธิปไตย ในอนาคตจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวดูเอาเอง แต่จุดร่วมอันสำคัญคือ
ทั้งสองฝ่ายมองว่าจะต้องหาทางข้ามปัญหาอำนาจที่แข็ง แกร่งของอำมาตย์ให้ได้
กลุ่มปฏิรูปประนีประนอมมีข้อดีตรงที่พยายามจะหาทางสันติที่ไม่ปะทะตรงๆ
ไม่เสียเลือดเนื้อมากเกินไป และไม่พยายามทำในสิ่งที่ดูใหญ่โตและยาก แต่ข้อเสียคือมันจะนำ
ไปสู่ประชาธิปไตยจริงได้หรือ ?
หรือจะ นำไปสู่การยอมจำนนในที่สุด ?
การถวายฎีกามีข้อเสียตรงที่ไปมอบอำนาจให้กับประมุขในลักษณะเหนือรัฐธรรมนูญ
ซึ่งจะส่งเสริมอำนาจอำมาตย์ ในด้านความคิดการถวายฎีกาอาจช่วยเปิดโปงความจริงบางอย่าง
แต่ในมุมกลับอาจไม่เปิดโปงอะไรใหม่และอาจนำพาคนไปจงรักภักดีกับอำมาตย์ก็ได้
กลุ่ม ปฏิวัติ ไม่ใช่กลุ่มปฏิวัติทุนนิยมเพื่อสังคมนิยม แต่เป็นกลุ่มที่อยากสู้อย่างถึงที่สุดกับ
อำนาจเผด็จการ และมองว่าการต่อสู้ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล่น กลุ่มนี้มองว่าการประนีประนอม
กับอำมาตย์จะไม่กำจัดอำนาจเผด็จการซึ่งจะรื้อฟื้นตัวเองขึ้นมาได้ตลอด
ผม ไม่อยากพูดแทนคนอื่น และคนอื่นคงมองต่างมุมกับผม
ดังนั้นผมจะให้ข้อสังเกตของตนเองเท่านั้นคือ ผมเชื่อว่าเราสร้างประชาธิปไตยแบบที่มีประมุข
ในรูปแบบอังกฤษหรือญี่ปุ่นคงทำ ไม่ได้แล้วในไทย เพราะพวกทหารและกลุ่มอื่นจะดึงประมุข
มาเป็นข้ออ้างในการทำลายประชาธิปไตย เสมอ การเขียนรัฐธรรมนูญก็ไม่ช่วยเพราะทหารฉีกและ
ละเมิดรัฐธรรมนูญเป็นสันดาน
ดัง นั้นเราต้องเปลี่ยนสังคมแบบถอนรากถอนโคน
ต้องลดอำนาจและงบประมาณกองทัพ ต้องปฏิรูปศาลให้หมด ต้องมีระบบลูกขุนประชาชน
ต้องปฏิรูปตำรวจ ต้องสร้างสื่อมวลชนของประชาชนแทนสื่อปัจจุบัน และต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา
ทุกตำแหน่งสาธารณะต้องมาจากการเลือกตั้ง และต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ทางเศรษฐกิจ เพราะการแก้นิดๆหน่อยๆ จุดเดียวจะไม่ประสบความสำเร็จ
ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ที่เราต้องการนี้
ผมเองหวังอย่างยิ่งว่าประชาชนจำนวนมากจะเริ่มเข้าใจว่าแค่ประชาธิปไตยรัฐสภา ไม่พอ
เราต้องมีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจด้วย ประชาชนต้องมีอำนาจในการกำหนดทิศทางการผลิต
และการลงทุน ซึ่งแปลว่าต้องยกเลิกทุนนิยมและนำระบบสังคมนิยมมาใช้ (ซึ่งจะแตกต่างโดย
สิ้นเชิงกับระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ที่มีในลาว เกาหลีเหนือ คิวบา หรือจีน) ในย่อหน้านี้ผม
อาจมองต่างมุมหรือมองเหมือนกับคนอื่นในกลุ่มปฏิวัติก็ได้ ผมไม่ทราบ ต้องรอให้เขาอธิบายเอง
ผมต้องยอมรับว่าสิ่งที่เราในกลุ่มปฏิวัติกำลังเสนอ เป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้เวลา
และที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้พลังมวลชน บทสรุปสำคัญจาก 14 ตุลา และพฤษภา 35
คือการเปลี่ยนสังคมต้องมาจากกระแสมวลชน ไม่ใช่จากคนกลุ่มเล็กๆ ไม่ว่าคนกลุ่มนั้นจะ
ติดอาวุธหรือไม่ แต่ถ้าคิดดูให้ดี สภาพสังคมไทยตอนนี้น่าจะสอนให้เราทราบว่าการต่อสู้
เพื่อประชาธิปไตยเป็น เรื่องใหญ่อยู่แล้ว
ผมไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านพอใจกับประชาธิปไตยครึ่งใบหรือไม่ แต่ผมไม่พอใจ
แนว ปฏิวัติเสี่ยงกับการถูกปราบ และคนที่เสี่ยงที่สุดคือคนในประเทศ(ไม่ใช่ผม)
แต่แนวปฏิรูปเสี่ยงกับการยอมจำนนต่ออำมาตย์ เลือกเอาเองครับเพื่อนเสื้อแดงทั้งหลาย
พวกเราถึงทางแยกสำคัญที่บังคับให้เราต้องคิดหนัก เราไม่ควรเงียบ หรือเอาหัวไปมุดดิน
เราควรจะพูดและคิด ควรจะถกเถียงอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด
แต่อย่าลืมขยันสร้างความสามัคคีด้วยในเรื่องที่ทำได้ อย่าลืมว่าศัตรูหลักคือพวกอำมาตย์
date : September 3, 2009 - 3 กันยายน 2552
“ความขัดแย้ง” ในแกนนำเสื้อแดง
คือโอกาสในการร่วมกันคิดหาทางออกให้ชัดว่าจะสู้อย่างไร
ผมเข้าใจความรู้สึกของคนเสื้อแดง
ที่ไม่สบายใจ เมื่อเห็นแกนนำเสื้อแดงเถียงและวิจารณ์กัน
แต่ความรู้สึกนั้นผิดพลาด
การที่แกนนำเสื้อแดงเถียงกันตอนนี้ มีรากฐานมาจากแนวความคิด
ทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องผลประโยชน์ส่วนตัว หรือความไร้น้ำยาของใคร
มันสะท้อนวิกฤตในสังคมไทยที่เราต้องร่วม กันแก้ และมันสะท้อนความ
ยากลำบากในการแก้ ผมอยากชักชวนให้เราชาวเสื้อแดงมองว่าการถกเถียง
เรื่องแนวทางการต่อสู้เป็น เรื่องดี ไม่ใช่ข้อเสียแต่อย่างใด เพราะมันบังคับ
ให้พวกเราคิดตามประเด็นถกเถียง
ผมอยากให้เสื้อแดง ทุกคนมีส่วนร่วมในการถกเถียงนี้ ขบวนการเสื้อแดง
เป็นขบวนการประชาธิปไตยของมวลชนชั้นล่างที่ถูกกดขี่มานาน ขบวนการ
ประชาธิปไตยในทุกยุคทุกสมัยทุกประเทศ ย่อมเต็มไปด้วยการถกเถียง
และนี่คือจุดแข็งจุดเด่น
เราไม่เหมือนเสื้อเหลืองที่ขัดแย้งกัน เรื่องการกอบโกย หรือเรื่องอำนาจที่จะกอบโกย
ไม่ว่าจะเป็นทหารชั้นผู้ใหญ่ คนในแวดวงเบื้องสูง อภิสิทธิ์ เนวิน สุเทพ หรือ
ผู้นำพันธมิตรฯ พวกนี้เป็นเหลืองเพื่อปกป้องผลประโยชน์พิเศษของเขาแต่แรก
เขาเลยทะเลาะกันเรื่องผลประโยชน์เสมอ
เสื้อแดงไม่ใช่เทวดา แต่ประเด็นผลประโยชน์ส่วนตัวไม่ใช่ประเด็นหลักในขณะนี้
คนเสื้อแดงเข้าใจดีว่าปัจจุบันอำมาตย์ครองเมือง
ผมอยากให้มองว่า อำมาตย์ดังกล่าวไม่ใช่บุคคลหยิบมือเดียว
ไม่ใช่สถาบันเดียว แต่เป็นพวกทหารชั้นสูง ข้าราชการชั้นสูง องคมนตรีและขุนนาง
รวมถึงเศรษฐีนักการเมืองเหลือง
อำนาจของพวกนี้ทั้งกลุ่มฝังลึกอยู่ ศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ทหาร เพราะมีเครื่องมือ
ในการใช้ความรุนแรงเพื่อเผด็จการ แต่พวกนี้ใช้สถาบันเบื้องสูงเพื่อพยายามสร้าง
ความชอบธรรมด้วย
อำมาตย์ ในทุกที่ทั่วโลกต้องมีอาวุธสองชนิดคือปืนกับการสร้างความชอบธรรม
เขาจะคุมทหาร ตำรวจ ศาล คุก และเขาจะคุมสื่อ โรงเรียน และปิดกั้นความคิด
ขบวนการเสื้อแดงเติบโตจากการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ของคนจำนวนมาก
หลัง 19 กันยา ในช่วงแรกๆ เราไม่ต้องคิดอะไรหนักเพราะเรามองว่าเรามีมวลชน
และมีความชอบธรรม
แต่ หลังเมษาเลือดเราเริ่มเห็นชัดว่าเราเผชิญหน้ากับอำนาจที่แข็งแกร่ง
แค่เดินขบวนและชุมนุมไม่พอ พันธมิตรฯมันเดินขบวนและมีผลเพราะมันใช้ความรุนแรง
และมีทหารและคนชั้นสูง หนุนหลัง มันไม่ได้ชนกับอำนาจอำมาตย์
เราเรียนรู้ว่าแค่ชนะการ เลือกตั้งหลายรอบก็ไม่พออีกด้วย นี่คือที่มาของการถกเถียง
ในหมู่แกนนำเสื้อแดงปัจจุบัน และผมมั่นใจว่าในหมู่คนเสื้อแดงรากหญ้ามีการเถียงกัน
ในทำนองเดียวกัน การถกเถียงนี้จะช่วยให้เราชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับแนวทางต่อสู้ และ
ถ้าเราวิเคราะห์ออก เราจะชัดเจนว่าเราสามารถสามัคคีกันตรงไหนได้ และมองต่างมุมใน
ส่วนไหน โดยไม่ทำให้ขบวนการประชาธิปไตยอ่อนแอ
ถ้าจะสรุปเหมารวม การถกเถียงครั้งนี้เป็นการถกเถียงระหว่างสองฝ่าย
ในแต่ละฝ่ายก็ไม่ใช่ว่าคนจะคิดเหมือนกันหมด แต่เราสามารถจัดเป็นสองกลุ่มได้คือ
(1) กลุ่มแกนนำสามเกลอและทักษิณ เป็นกลุ่มที่อยากจะค่อยๆเป็นค่อยๆไป พร้อมจะ
หาทางประนีประนอมเพื่อได้ประชาธิปไตยกลับมา โดยไม่ต้องปะทะมากเกินไป แนวนี้
คือแนวปฏิรูป
ส่วนกลุ่มที่
(2) ประกอบไปด้วยจักรภพและสุรชัย ที่มองว่าประชาธิปไตยแท้จะไม่มีวันเกิดขึ้นถ้าไม่สู้
แบบปะทะอย่างตรงไปตรงมา นี่คือแนวปฏิวัติ
ผมเองก็สนับสนุนแนวคิดกว้างๆ ของกลุ่มที่สองนี้ด้วย
ผมไม่อยากจะเอาคำพูดไปยัดปากใคร หรือความคิดไปยัดใส่หัวใคร ทุกท่านต้องอ่านและฟัง
สิ่งที่เจ้าตัวพูดเอง ไม่ใช่ไปสรุปแทนหรือบิดเบือนอย่างที่มีคนทำกับผมบ่อยๆ
แต่ถ้าจะ สรุปคร่าวๆ สองแนวนี้คือทางเลือกระหว่างการค่อยๆปฏิรูปและประนีประนอม กับ
การปฏิวัติเพื่อสร้างสังคมใหม่ ในขณะนี้ทั้งสองฝ่ายเชื่อว่าแนวทางของตนเองเป็นแนวที่ดีที่สุด
ที่จะนำสังคม ไปสู่ประชาธิปไตย ในอนาคตจะเป็นอย่างไรเดี๋ยวดูเอาเอง แต่จุดร่วมอันสำคัญคือ
ทั้งสองฝ่ายมองว่าจะต้องหาทางข้ามปัญหาอำนาจที่แข็ง แกร่งของอำมาตย์ให้ได้
กลุ่มปฏิรูปประนีประนอมมีข้อดีตรงที่พยายามจะหาทางสันติที่ไม่ปะทะตรงๆ
ไม่เสียเลือดเนื้อมากเกินไป และไม่พยายามทำในสิ่งที่ดูใหญ่โตและยาก แต่ข้อเสียคือมันจะนำ
ไปสู่ประชาธิปไตยจริงได้หรือ ?
หรือจะ นำไปสู่การยอมจำนนในที่สุด ?
การถวายฎีกามีข้อเสียตรงที่ไปมอบอำนาจให้กับประมุขในลักษณะเหนือรัฐธรรมนูญ
ซึ่งจะส่งเสริมอำนาจอำมาตย์ ในด้านความคิดการถวายฎีกาอาจช่วยเปิดโปงความจริงบางอย่าง
แต่ในมุมกลับอาจไม่เปิดโปงอะไรใหม่และอาจนำพาคนไปจงรักภักดีกับอำมาตย์ก็ได้
กลุ่ม ปฏิวัติ ไม่ใช่กลุ่มปฏิวัติทุนนิยมเพื่อสังคมนิยม แต่เป็นกลุ่มที่อยากสู้อย่างถึงที่สุดกับ
อำนาจเผด็จการ และมองว่าการต่อสู้ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเล่น กลุ่มนี้มองว่าการประนีประนอม
กับอำมาตย์จะไม่กำจัดอำนาจเผด็จการซึ่งจะรื้อฟื้นตัวเองขึ้นมาได้ตลอด
ผม ไม่อยากพูดแทนคนอื่น และคนอื่นคงมองต่างมุมกับผม
ดังนั้นผมจะให้ข้อสังเกตของตนเองเท่านั้นคือ ผมเชื่อว่าเราสร้างประชาธิปไตยแบบที่มีประมุข
ในรูปแบบอังกฤษหรือญี่ปุ่นคงทำ ไม่ได้แล้วในไทย เพราะพวกทหารและกลุ่มอื่นจะดึงประมุข
มาเป็นข้ออ้างในการทำลายประชาธิปไตย เสมอ การเขียนรัฐธรรมนูญก็ไม่ช่วยเพราะทหารฉีกและ
ละเมิดรัฐธรรมนูญเป็นสันดาน
ดัง นั้นเราต้องเปลี่ยนสังคมแบบถอนรากถอนโคน
ต้องลดอำนาจและงบประมาณกองทัพ ต้องปฏิรูปศาลให้หมด ต้องมีระบบลูกขุนประชาชน
ต้องปฏิรูปตำรวจ ต้องสร้างสื่อมวลชนของประชาชนแทนสื่อปัจจุบัน และต้องเปลี่ยนระบบการศึกษา
ทุกตำแหน่งสาธารณะต้องมาจากการเลือกตั้ง และต้องแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ทางเศรษฐกิจ เพราะการแก้นิดๆหน่อยๆ จุดเดียวจะไม่ประสบความสำเร็จ
ท่ามกลางการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยแท้ที่เราต้องการนี้
ผมเองหวังอย่างยิ่งว่าประชาชนจำนวนมากจะเริ่มเข้าใจว่าแค่ประชาธิปไตยรัฐสภา ไม่พอ
เราต้องมีประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจด้วย ประชาชนต้องมีอำนาจในการกำหนดทิศทางการผลิต
และการลงทุน ซึ่งแปลว่าต้องยกเลิกทุนนิยมและนำระบบสังคมนิยมมาใช้ (ซึ่งจะแตกต่างโดย
สิ้นเชิงกับระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ที่มีในลาว เกาหลีเหนือ คิวบา หรือจีน) ในย่อหน้านี้ผม
อาจมองต่างมุมหรือมองเหมือนกับคนอื่นในกลุ่มปฏิวัติก็ได้ ผมไม่ทราบ ต้องรอให้เขาอธิบายเอง
ผมต้องยอมรับว่าสิ่งที่เราในกลุ่มปฏิวัติกำลังเสนอ เป็นเรื่องใหญ่ ต้องใช้เวลา
และที่สำคัญที่สุดคือต้องใช้พลังมวลชน บทสรุปสำคัญจาก 14 ตุลา และพฤษภา 35
คือการเปลี่ยนสังคมต้องมาจากกระแสมวลชน ไม่ใช่จากคนกลุ่มเล็กๆ ไม่ว่าคนกลุ่มนั้นจะ
ติดอาวุธหรือไม่ แต่ถ้าคิดดูให้ดี สภาพสังคมไทยตอนนี้น่าจะสอนให้เราทราบว่าการต่อสู้
เพื่อประชาธิปไตยเป็น เรื่องใหญ่อยู่แล้ว
ผมไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านพอใจกับประชาธิปไตยครึ่งใบหรือไม่ แต่ผมไม่พอใจ
แนว ปฏิวัติเสี่ยงกับการถูกปราบ และคนที่เสี่ยงที่สุดคือคนในประเทศ(ไม่ใช่ผม)
แต่แนวปฏิรูปเสี่ยงกับการยอมจำนนต่ออำมาตย์ เลือกเอาเองครับเพื่อนเสื้อแดงทั้งหลาย
พวกเราถึงทางแยกสำคัญที่บังคับให้เราต้องคิดหนัก เราไม่ควรเงียบ หรือเอาหัวไปมุดดิน
เราควรจะพูดและคิด ควรจะถกเถียงอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด
แต่อย่าลืมขยันสร้างความสามัคคีด้วยในเรื่องที่ทำได้ อย่าลืมว่าศัตรูหลักคือพวกอำมาตย์
Subscribe to:
Posts (Atom)